Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6876
Title: ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2551
Other Titles: The employment conditions of graduates of the faculty of forestry, Kasetsart University in 2008 Academic Year
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นาฏยา เวียงนนท์, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะวนศาสตร์ -- บัณฑิต -- การจ้างงาน
บัณฑิต -- การจ้างงาน
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 และเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นําการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จําแนกตามประสบการณ์ ในตําแหน่ง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จํานวน 62 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลจําแนกเป็นผู้อํานวยการโรงเรียน รองผู้อํานวยการ โรงเรียน/ครูวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จํานวนทั้งสิ้น 620 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดย กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan จํานวน 248 คน แบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนละ 4 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อํานวยการ โรงเรียน จํานวน 62 คน รองผู้อํานวยการโรงเรียน/ครูวิชาการ จํานวน 62 คน ส่วนหัวหน้ากลุ่มสาระการ เรียนรู้ โดยการสุ่มอย่างง่าย โรงเรียนละ 2 คน จํานวน 124 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจํานวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงระหว่าง 60-1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้าน การสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา ตามลําดับ (2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จําแนกตามประสบการณ์ในตําแหน่ง โดยรวม พบว่า มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกระตุ้นการ ใช้ปัญญา และด้านการคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6876
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_130407.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons