Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6901
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิต ศุทธสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสาวิตรี คงศรี, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-29T05:49:52Z-
dc.date.available2023-06-29T05:49:52Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6901-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นและความสำคัญของปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอโคกโพธิ์และอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี (2) ความคิดเห็นและความสำคัญของปัจจัยจูงใจที่มีต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (3) แนวทางในการเสริมสร้าง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ประชากรในการศึกษานี้มีจำนวน 279 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 169 คน ประกอบด้วยบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอโคกโพธิ์ จำนวน 82 คน และอำเภอเมืองปัตตานี จำนวน 87 คน และใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเจาะจงในกลุ่มผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และ พนักงานระดับปฏิบัติ จานวน 66 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในอาเภอโคกโพธิ์ จานวน 36 คน ในอำเภอเมือง จำนวน 30 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 235 คน เครื่องมือในการวิจัย ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นและความสำคัญของปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองอำเภอ เห็นว่า การที่ผู้บริหารไม่ใช้หลักคุณธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความไม่พึงพอใจในการทำงานในระดับมากที่สุด (2) กลุ่มตัวอย่างทั้งสองอำเภอมีความเห็นเหมือนกันว่า การได้รับโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในระดับมาก แต่กลุ่มตัวอย่างในอำเภอโคกโพธิ์มีความเห็นว่าปัจจัยการปรับเลื่อนระดับตำแหน่งที่เร็วกว่าผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานพร้อมกันเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างอำเภอเมืองปัตตานี เห็นว่า ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานมากที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยจูงใจด้านอื่นๆ (3) สำหรับแนวทางที่สำคัญในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร คือ การสร้างเจตคติที่ดีในการทำงาน สร้างระบบการสื่อสารภายในให้เป็นการสื่อสารระบบเปิดวางมาตรฐานและสร้างเครื่องมือสำหรับวัดผลสำเร็จของการปฏิบัติงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ปัตตานีth_TH
dc.subjectการจูงใจ (จิตวิทยา)th_TH
dc.subjectความพอใจในการทำงาน -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอโคกโพธิ์และอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานีth_TH
dc.title.alternativeWorking motivation of officers in sub district administration organizations in Khok Pho and Muang district, Pattani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe proposes of the thesis were to study (1) personnel’s opinions and the importance of hygiene factors affecting the dissatisfaction of officers working in Sub-district Administration Organizations in Khok-Poh and Muang, Districts, Pattani Province(2) personnel’s opinions and the importance of motivating factors affecting the officers’ operation and (3) ways to enhance working motivation of the officers working in Sub-district Administration Organizations in Khok-Poh and Muang, Districts, Pattani Province. Population consisted of 279 officers, from which samples of 169 were obtained via Yamane calculation method. The samples included 82 officers from Khok-Poh District and 87 officers from Muang District. Other than this, samples of 66 executives, who were purposely selected from management group, group heads, and operational officers, were also included, of which, 36 samples were from Khok-Poh District and 30 from Muang District. Total samples, therefore, comprised 235 officers. Instrument used were questionnaire for the sample group and interview for the latter. Statistical tools employed were percentage, mean, and standard deviation. The study results showed that (1) samples from both Districts agreed that the absence of management’s implementation of merit system in salary raising, most resulted in dissatisfaction of personnel (2) samples of both Districts agreed in high level that an opportunity to higher education was major factor to enhance working motivation of personnel, however, the officers in Kok-Phoe viewed that faster advancement in higher position than other colleagues starting work at the same time had lowest effect on motivation, while officers in Muang District viewed that this factor had highest effect (3) ways to enhance working motivation of officers included: promoting positive working attitude, together with the establishment of opened communication system within organizations, and the determining of operational standard and effective performance appraisal toolsen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135386.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons