กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6901
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอโคกโพธิ์และอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Working motivation of officers in sub district administration organizations in Khok Pho and Muang district, Pattani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จีระ ประทีป สาวิตรี คงศรี, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา มานิต ศุทธสกุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--ปัตตานี การจูงใจ (จิตวิทยา) ความพอใจในการทำงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นและความสำคัญของปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอโคกโพธิ์และอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี (2) ความคิดเห็นและความสำคัญของปัจจัยจูงใจที่มีต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (3) แนวทางในการเสริมสร้าง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ประชากรในการศึกษานี้มีจำนวน 279 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 169 คน ประกอบด้วยบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอโคกโพธิ์ จำนวน 82 คน และอำเภอเมืองปัตตานี จำนวน 87 คน และใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเจาะจงในกลุ่มผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และ พนักงานระดับปฏิบัติ จานวน 66 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในอาเภอโคกโพธิ์ จานวน 36 คน ในอำเภอเมือง จำนวน 30 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 235 คน เครื่องมือในการวิจัย ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นและความสำคัญของปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองอำเภอ เห็นว่า การที่ผู้บริหารไม่ใช้หลักคุณธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความไม่พึงพอใจในการทำงานในระดับมากที่สุด (2) กลุ่มตัวอย่างทั้งสองอำเภอมีความเห็นเหมือนกันว่า การได้รับโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในระดับมาก แต่กลุ่มตัวอย่างในอำเภอโคกโพธิ์มีความเห็นว่าปัจจัยการปรับเลื่อนระดับตำแหน่งที่เร็วกว่าผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานพร้อมกันเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างอำเภอเมืองปัตตานี เห็นว่า ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานมากที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยจูงใจด้านอื่นๆ (3) สำหรับแนวทางที่สำคัญในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร คือ การสร้างเจตคติที่ดีในการทำงาน สร้างระบบการสื่อสารภายในให้เป็นการสื่อสารระบบเปิดวางมาตรฐานและสร้างเครื่องมือสำหรับวัดผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6901 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
135386.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License