Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/692
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สมชาย สภา | - |
dc.contributor.author | สารีพันธุ์ ศุภวรรณ | - |
dc.contributor.author | ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล | - |
dc.date.accessioned | 2022-08-17T11:33:14Z | - |
dc.date.available | 2022-08-17T11:33:14Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.citation | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2563), หน้า 145-156 | th_TH |
dc.identifier.issn | 1905-4653 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/692 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 285 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความต้องการจัดกิจกรรมนันทนาการ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการผู้สูงอายุมีค่าความสอดคล้องภายในอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 3) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ และระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายและสอบถามความสมัครใจ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 และ 2) แนวทางการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา แผนกิจกรรม สื่อและอุปกรณ์ และการประเมินผล 2) ผู้สูงอายุมีความสามารถในการปรับตัวหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะ คือ ด้านการประเมินผลกิจกรรมนันทนาการควรใช้วิธีการประเมินตามสภาพจริง และด้านระยะเวลาในการจัดกิจกรรมนันทนาการ ควรกำหนดเวลาในการทำกิจกรรมแบบยืดหยุ่นและคำนึงถึงความสามารถในการทำกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุแต่ละคน | th_TH |
dc.language.iso | other | th_TH |
dc.publisher | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | - |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- นันทนาการ | th_TH |
dc.title | รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี | th_TH |
dc.title.alternative | Model for organizing recreational activities to develop adaptability of the elderly in Mueang District, Udon Thani Province | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to 1) develop a model for organizing recreational activities to develop adaptability of the elderly, 2) study the results of using the model for organizing recreational activities to develop adaptability of the elderly, and 3) study the recommendations for the model for organizing recreational activities to develop adaptability of the elderly. The research was divided into 2 phases: Phase 1 was the development of a model for organizing recreational activities. The sample was 285 elders who resided in Mueang District, Udon Thani Province obtained by multi-stage random sampling. The employed research instruments were 1) a questionnaire to assess the needs for organizing recreational activities, the reliability value was 0.88, 2) the model for organizing recreational activities for the elderly had internal consistency ranging between 0.67-1.00, and 3) the model quality evaluation form. Phase 2 was the study of the results of using the model for organizing recreational activities. The sample was 30 voluntary elders who resided in Mueang District, Udon Thani Province obtained by simple random sampling, and 11 experts. The employed research instruments included 1) a scale to assess adaptability of the elderly with its reliability of 0.93, and 2) a form containing guidelines for group discussion. Data were analyzed using the percentage, mean, standard deviation, t-test and content analysis. The research results were as follows: 1) the model for organizing recreational activities to develop adaptability of the elderly composed of the objectives, target groups, contents, activity plan, materials and equipment, and evaluation; 2) the adaptability of the elderly after the experiment was statistically higher than that of before the experiment at the .05 level of significance; and 3) the recommendations were that the evaluation of recreational activities should be authentic, the length of time for recreational activities should be flexible, and the ability to do the activities of each elder should be taken into account | en_US |
Appears in Collections: | STOU Education Journal |
This item is licensed under a Creative Commons License