กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6937
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of lecturers' competencies in the Southern Group of Rajabhat University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักด์ิ ธนวิบูลย์ชัย กชกร ก้อนสมบัติ, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธนชัย ยมจินดา ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ อาจารย์มหาวิทยาลัย--ไทย (ภาคใต้) |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสมรรถนะโดยรวมและรายด้านของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ (2) เปรียบเทียบระดับสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (3) พัฒนาแนวทางการสร้างสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ จำนวน 314 คน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,459 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะโดยรวมและรายด้านของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้อยู่ในระดับมาก สมรรถนะตามสายงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยที่สมรรถนะตามสายงานด้านการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และสมรรถนะการบริหารโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยที่สมรรถนะการบริหารด้านจริยธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (2) เปรียบเทียบระดับ สมรรถนะตามสายงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ วุฒิการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีระดับสมรรถนะตามสายงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเปรียบเทียบระดับสมรรถนะการบริหารของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีตำแหน่งทางวิชาการ และจังหวัดที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏแตกต่างกันมีระดับสมรรถนะการบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ส่วนการพัฒนา แนวทางการสร้างสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ ควรจัดทำหลักสูตรที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะด้านการสอน ด้านการวิจัย และด้านบริการวิชาการแก่สังคม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6937 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
138832.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License