Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6939
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เชาว์ โรจนแสง | th_TH |
dc.contributor.author | ธนภณ นิธิเชาวกุล, 2519- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-06-30T01:12:50Z | - |
dc.date.available | 2023-06-30T01:12:50Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6939 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บธ.ด. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยด้านจิตวิทยา การสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทย (2) วิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยด้านจิตวิทยา การสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทย (3) ตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (4) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำ เนินชีวิตปัจจัยด้านจิตวิทยา และการสื่อสารทางการตลาดที่มีต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทย (5) นำ เสนอโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ (6) เปรียบเทียบโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับส่วนภูมิภาค ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและในส่วนภูมิภาคที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ซึ่งการวิเคราะห์สถิติประเภทพหุตัวแปรกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 20 เท่าของตัวแปรในโมเดลดังนั้น ขนาดตัวอย่างในการวิจัยจึงเท่ากับ 840 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเส้นทางความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยใช้วิเคราะห์ตัวแบบจากสมการโครงสร้าง (Structural equation model analysis : SEM) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ผลสำรวจปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยด้านจิตวิทยา การสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและส่วนภูมิภาคมีการกระจายของข้อมูลไม่มากและแตกต่างจากโค้งปกติเล็กน้อยสามารถวิเคราะห์ด้วยสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุได้ (2) องค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า รูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยด้านจิตวิทยา การสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภูมิภาคและในภาพรวมทั้งประเทศไทยมีรูปแบบโมเดลเหมือนกันและมีน้ำหนักองค์ประกอบในการวัดไม่เท่ากัน (3) โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยทั้ง 3 โมเดล ประกอบด้วย โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภูมิภาคและในภาพรวมทั้งประเทศไทย ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (4) ภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทย ทั้ง 3 โมเดล ได้รับอิทธิพลทางตรงจากรูปแบบการดำเนินชีวิตและอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านจิตวิทยา (5) การทำการตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยทั้ง 3 โมเดล ควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตร่วมกับปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้วยการนำเสนอผลของการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทย เพื่อสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสาธิตในการกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของผู้บริโภคและใช้การสื่อสารทางการตลาดเป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้บริโภคเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยและ (6) ผลการเปรียบเทียบโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับส่วนภูมิภาคไม่พบความแตกต่างในการทำการตลาดพบเพียงค่าน้ำหนักองค์ประกอบและความคลาดเคลื่อนไม่เท่ากัน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.118 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | เครื่องสำอางสมุนไพร--ตราสัญลักษณ์ | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์สมุนไพร--ตราสัญลักษณ์ | th_TH |
dc.subject | เครื่องหมายการค้า | th_TH |
dc.subject | การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ | th_TH |
dc.subject | ชื่อตราผลิตภัณฑ์ | th_TH |
dc.title | โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอางสมุนไพรไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Causal model of factors influencing the brand image of Cosmeceuticals Thai Herbal Products | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were; (1) to explore the brand equity factors with regards to lifestyle, psychological factors and marketing affecting the brand image of Cosmeceuticals Thai Herbal Products (CTHP), (2) to analyze the factors of brand equity with regards to lifestyle, and psychological factors which indirectly influenced the marketing of the CTHP brand image, (3) to investigate the causal model of the factors influencing the CTHP brand image consistent with empirical data, (4) to analyze the influence of brand equity with regards to lifestyle, and psychological factors which indirectly influenced the marketing of the CTHP brand image, (5) to present a model of the factors influencing CTHP brand image which the researcher developed, and (6) to compare the causal model of the factors influencing the CTHP brand image in the Bangkok metropolitan region and its provincial areas. The population in this study was product consumers of CTHP in the Bangkok metropolitan and provincial areas, who were over 15 years of age. The variables of multivariate statistical analysis of the sample size in this study were equivalent to 840 samples. It was analyzed with descriptive statistics which consisted of the frequency, the percentage, the arithmetic mean, and the standard deviation, including data analysis in order to find both direct and indirect relationships by using analytical models from a structural equation model analysis (SEM). The results showed that (1) the brand equity factors with regards to lifestyle; psychological factors and marketing communication were affecting the brand image of CTHP in the Bangkok metropolitan, and provincial areas. The distribution of the data was not very high, but slightly different from the normal curve, and could be analyzed by structural causal equation. (2) The composition factors of brand equity: lifestyle, psychological factors, marketing communication, the brand image of CTHP in the Bangkok metropolitan area, the provincial areas and all over Thailand was of the same model and weight components in unequal measurement. (3) The causal model of the factors in influencing the brand image of CTHP in all three models include the causal model of the factors in influencing the brand image of CTHP in the Bangkok metropolitan area, the provincial areas and all over Thailand which were developed consistent with the empirical data. (4) The brand image of CTHP of three models were influenced by the lifestyle and indirectly by the psychological factors. (5) Marketing to create a brand image of CTHP among the three models should focus on lifestyle associated with psychological factors by presenting the solutions gained from using CTHP products to motivate consumers, in combination with demonstration, and using marketing communications as an intermediary in information transfer, in order to achieve the brand image, and (6) the result of comparison of the causal model of the factors in influencing the brand image of CTHP in the Bangkok metropolitan area, the provincial areas found no differences in the factor market and found an unequal discrepancy. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | วุฒิชาติ สุนทรสมัย | th_TH |
dc.contributor.coadvisor | สุภมาส อังศุโชติ | th_TH |
dc.contributor.coadvisor | สุดาพร สาวม่วง | th_TH |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
139323.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License