Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6944
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting personal financial planning for retirement of life insurance companies employees in Bangkok Metropolitan
Authors: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชลธิชา บุญรอด, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ตัวแทนประกันชีวิต--การเงินส่วนบุคคล
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมในการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุของพนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการเงิน ปัจจัยด้านทัศนคติ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กับพฤติกรรมในการวางแผนการเงิน เพื่อการเกษียณอายุ และ (4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทประกันชีวิตในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้จำนวนตัวอย่าง 400 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 19,131 คน ใช้สูตรของทาโร ยามาแน่ ในการกำหนดจำนวนกลุ่ม ตัวอย่าง สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกรูปแบบการฝากเงินกับธนาคารหรือ สถาบันการเงิน มีการออมและลงทุนทุกเดือน มีการเลือกระยะเวลาของการออมและการลงทุนเป็น ระยะปานกลาง (1 - 10ปี) (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่พนักงานที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนน้อยจะเลือกรูปแบบการออมโดยซื้อกรมธรรม์ ประกันชีวิต และมีการออมและลงทุนในสัดส่วนที่มาก มีความถี่ในการออมและการลงทุนสูง เลือกการออมและการลงทุนที่ระยะสั้น (3)ปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยทางการเงินปัจจัยด้านทัศนคติและปัจจัย ด้านเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดคือ การยอมรับความเสี่ยง รองลงมาคือ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง และประสบการณ์ และ (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการเงิน ปัจจัยด้าน ทัศนคติ และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุ โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด แต่ถ้าพิจารณาขนาดของค่าสัมประสิทธพบว่า ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ ประสบการณ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6944
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158685.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons