Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6956
Title: คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Quality of work life of teachers in Amphoe Pakchong Changwat Nakhon Ratchasima
Authors: รังสรรค์ ประเสริฐศรี
วีรวัฒน์ สุวรรณรัตน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม
Keywords: ข้าราชการครู--ความพึงพอใจในการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านต่างๆ ของข้าราชการครูในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ การได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอ และเป็นธรรมสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ โอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคลความมั่นคงและความก้าวนห้าในงาน การบูรณาการทางสังคม หรือ การทำงานร่วมกัน ประชาธิปไตยในองค์การ ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และ (2)เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นข้าราชการครูในอำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1,024 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ อย่างมีสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู ใช้ข้อคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9237 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มากเกือบทุกด้าน มีเพียงด้านเดียวคือ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ที่อยู่ ในระดับปานกลาง (2) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์ และขนาดโรงเรียนที่สังกัดพบว่ามีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยจำแนกตามอายุราชการ พบว่ามีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์แบบจำแนกเป็นรายคู่ พบว่าครูที่มีอายุราชการต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่ต่างกัน ยกเว้นกลุ่ม อายุราชการระหว่าง 21-40 ปีกับ 41-60 ปี จะมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันและ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยจำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบว่ามีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์แบบจำแนกเป็นรายคู่ พบว่าครูที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่ต่างกัน ยกเว้นกลุ่มรายได้ต่อเดือนระหว่าง10,000-20,000 บาทกับ 30,000 บาทขึ้นไป จะมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6956
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114862.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons