กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6960
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฎิบัติงานกับประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between work motivation and the efficiency performance of employees of Tarsom Farm Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญญธร ช้างนะ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การจูงใจในการทำงาน
สมรรถภาพในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจและระดับประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของลูกจ้างบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด (2) เปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ของลูกจ้างบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด และ (4) เสนอแนะแนวทางในการยกระดับแรงจูงใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้เป็นลูกจ้างของบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด ทุกหน่วยงาน จำนวน 44 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใชัในเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบแอลเอสดี และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า(1)ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างบริษัทท่าโสมฟาร์ม จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ลูกจ้างบริษัท ท่าโสมฟาร์ม จำกัด ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุการทำงานที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพใน การทำงานในภาพรวมมีค่าสัมประสิทธสหสัมพันธ์ (r) ในระดับสูง ที่ค่า 0.757 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และ (4) ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง เพื่อเพี่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีปัจจัย 3 อันดับแรก ได้แก่ ควรเพี่มค่าตอบแทนให้ลูกจ้างตาม ความสามารถ ควรเพ็่มโบนัสให้ลูกจ้างมากกว่า 2 เดือน และควรเพิ่มเงินจูงใจในการผลิตกุ้งให้เพิ่มขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6960
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159410.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons