กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/697
ชื่อเรื่อง: | การยอมรับต่อการบริการการแพทย์แผนไทยของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Health personnel's acceptance of Thai traditional medicine services in Suphanburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา ฉวีวรรณ ม่วงน้อย, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา คนองยุทธ กาญจนกูล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ แพทย์แผนโบราณ--ไทย บุคลากรสาธารณสุข การบริการทางการแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการยอมรับต่อบริการการแพทย์แผนไทยของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดสุพรรณบุรีโดยรวม และแยกรายด้าน ได้แก่ ด้านการตรวจวินิจฉัยโรคแบบแผนไทย ด้านเภสัชกรรม ด้านรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพร่างกาย และด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (2) เปรียบเทียบการยอมรับต่อบริการการแพทย์แผนไทยของบุคลากรที่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านหน่วยงาน และปัจจัยด้านประสบการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทย (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการจัดบริการการแพทย์แผนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 369 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงของการยอมรับเท่ากับ 0.88 ได้แบบสอบถามกลับคืน 324 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบแบบที วิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว ครัสคัลวาลิส-เทสต์ และแมนวิทนีย์ยู-เทสต์ ผลการวิจัย พบว่า (1) การยอมรับต่อบริการการแพทย์แผนไทยโดยรวมของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกรายด้านได้แก่ ด้านการตรวจวินิจฉัยโรคแบบแผนไทย ด้านเภสัชกรรม ด้านรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพร่างกาย และด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อยู่ในระดับ ปานกลางทุกด้าน (2) บุคลากรสาธารณสุขที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา วิชาชีพ ประเภทบุคลากร และ หน่วยงานที่แตกต่างกัน พบว่ามีการยอมรับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านหน่วยงาน ได้แก่ นโยบายสนับสนุน การจัดบริการ การมีกิจกรรมส่งเสริม สถานที่ บุคลากร การเตรียมความรู้ที่แตกต่างกัน พบว่ามีการยอมรับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสบการณ์การใช้บริการ ได้แก่ ด้านเภสัชกรรม ด้านรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพร่างกาย ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่แตกต่างกัน พบว่ามีการยอมรับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 แต่ด้านการตรวจวินิจฉัยโรคแบบแผนไทยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ปัญหาอุปสรรคที่พบมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ บุคลากรขาดคุณภาพ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ และสถานที่ในการจัดบริการไม่เหมาะสม (ร้อยละ 56.8 51.9 และ 33.6 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ควรมีแผนพัฒนาบุคลากร ควรจัดหาบุคลากรและมอบหมายให้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยเป็นการเฉพาะและควรมีจัดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง (ร้อยละ 24.4 22.2 และ 14.8 ตามลำดับ) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/697 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License