Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7020
Title: สภาพการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The conditions of internal supervision in Schools under the Office of Sai Mai District, Bangkok Metropolitan Administration
Authors: เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญญานนท์ แก้ววงษา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การนิเทศการศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร และ (2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายในของสถานศึกษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต สายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการนิเทศภายในของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง และ (2) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศภายใน ได้แก่ (ก) ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ พบว่า ครูยังไม่ได้รับการพัฒนาในเรื่องที่สอดคล้องกับความสนใจ และไม่มีกิจกรรมการสาธิตการสอน ข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดฝึกอบรมครูด้านการสอนและการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย (ข) ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม พบว่า โรงเรียนไม่มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้ครูมีการทำงานเป็นกลุ่มให้มากขึ้น (ค) ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า ผู้บริหารไม่สามารถสร้างความตระหนักให้ครูในการทำการวิจัยในชั้นเรียน ไม่มีการดำเนินการประเมินผลการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการอบรมเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนให้ครู และมีการนิเทศติดตามการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ (ง) ด้านการพัฒนาหลักสูตร พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจด้านหลักสูตร และขาดการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการใช้หลักสูตร ข้อเสนอแนะ คือ ควรเชิญบุคลากรในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำคู่มือหลักสูตรสถานศึกษา และ (จ) ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง พบว่า โรงเรียนไม่มีการสำรวจความต้องการการพัฒนาครูเป็นรายบุคคล และการนิเทศยังไม่ต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรจัดให้มีการเยี่ยมนิเทศการสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7020
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159228.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons