Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7043
Title: ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : กรณีศึกษาการจัดบริการสอนเสริม ณ ศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพมหานคร
Other Titles: Problems and development guidelines of tutorial instruction service in distance education of Sukhothai Thammathirat Open University : a case study of educational sevice center in Bangkok
Authors: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมคะเน ค้าจุน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพร ทาจิ๋ว, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช -- การศึกษาและการสอน
การสอนเสริม
การศึกษาทางไกล -- การจัดการ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาในการเข้ารับบริการ การสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) เปรียบเทียบปัญหาและความต้องการ ของนักศึกษาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการจัดบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ (4) เสนอแนวทางในการพัฒนาการบริการการจัดกิจกรรมการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนรวมทั้งสิ้น 5,783 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวนรวมทั้งสิ้น 493 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักศึกษา ที่เข้ารับบริการการสอนเสริมจำนวน 357 คน และ (2) อาจารย์สอนเสริมจำนวน 118 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (3) ผู้อ้านวยการศูนย์บริการการศึกษา รองผู้อ้านวยการศูนย์บริการการศึกษา และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 18 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมที่สำคัญ คือ มสธ. และศูนย์แจ้งข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการสอนเสริมน้อยมาก อาจารย์สอนเสริมสอนเร็วและอธิบาย ไม่ละเอียด มีปัญหาในการ Down load เอกสารโสตทัศน์ และความต้องการของนักศึกษาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมที่สำคัญคือ ควรประชาสัมพันธ์ข่าวการสอนเสริมทุกสื่อให้มากกว่าที่เป็นอยู่ให้ทั่วถึง อาจารย์สอนเสริมควรสอน/อธิบายให้ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือแนวในการตอบข้อสอบ และอยากให้อาจารย์สอนเสริมเป็นอาจารย์ของ มสธ. (2) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ สถานภาพการทำงาน และระยะเวลาของหลักสูตรที่ศึกษาต่างกันมีปัญหาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีปัญหาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักศึกษาที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนต่างกันมีความต้องการในการเข้ารับบริการการสอนเสริมไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีระดับการศึกษา และสถานภาพการทำงานต่างกันมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่นักศึกษาที่มีระยะเวลาของหลักสูตรที่ศึกษาต่างกันมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (3) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดบริการการสอนเสริม ที่สำคัญคือ สถานที่จอดรถไม่เพียงพอ การบริการห้องน้ำ/ห้องส้วมมีจำนวนไม่เพียงพอและไม่สะอาด และศูนย์ฯ ไม่ได้จัดให้มีร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มไว้บริการกับนักศึกษา ห้องที่ใช้สอนเสริมมีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีแสงสว่างไม่เพียงพอ มีเสียงดังรบกวนจากการจัดกิจกรรมอื่นของศูนย์ (4) แนวทางในการพัฒนา การให้บริการการจัดกิจกรรมการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกลที่สำคัญ คือ มสธ. กับศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพมหานครควรร่วมกันอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาและอาจารย์สอนเสริมเกี่ยวกับสถานที่และอุปกรณ์ ในการจัดบริการการสอนเสริม เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ สถานที่จอดรถ การบริการห้องน้า/ ห้องส้วมให้เพียงพอและสะอาด ห้องที่ใช้สอนเสริมมีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงสว่างเพียงพอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7043
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142720.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons