Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7061
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปัญญาพร ศรีประเสริฐ, 2521-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-01T08:55:50Z-
dc.date.available2023-07-01T08:55:50Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7061en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในทัศนะของครู (2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามภูมิหลังของครู ได้แก่ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การสอน และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูจากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2 จำนวน 175 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในทัศนะของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ครูที่มี วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอนที่แตกต่างกันมีความเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัญหาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ได้แก่ โครงสร้างเวลาเรียนเน้นพัฒนาทักษะอาชีพมากกว่าด้านอาเซียน ผู้บริหารไม่ได้นิเทศติดตามการใช้หลักสูตร ครูไม่เข้าใจกรอบเนื้อหาความเป็นอาเซียน และไม่ได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ผู้บริหารไม่ร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายประชาคมอาเซียน สถานศึกษาขาด สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และครูขาดความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาควรพัฒนาผู้บริหารและครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรอาเซียนและสามารถบูรณาการนำสู่ชั้นเรียนได้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งให้มีการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ และควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสู่ประชาคมอาเซียนอย่างจริงจัง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนและพัฒนาครูและนักเรียนอย่างหลากหลายช่องทางเพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษและสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหารth_TH
dc.subjectการพัฒนาการศึกษา -- ไทย -- ระยองth_TH
dc.subjectการบริหารการศึกษาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleสภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ในทัศนะครูth_TH
dc.title.alternativeThe operational state of school development strategies toward ASEAN community of education expansion school under Rayong Primary Education Service Area Office 2 as perceived by teachersth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study the operational state of school development strategies toward ASEAN community of education expansion schools under Rayong Primary Education Service Area Office 2 as perceived by teachers; (2) to compare the teachers’ perceptions of operational state of school development strategies toward ASEAN community of education expansion schools, as classified by teacher background variables, namely, educational qualification, and teaching experience; and (3) to study problems and suggestions for development of the operation of the school development strategies toward the ASEAN community. The sample consisted of 175 teachers from education expansion schools under Rayong Primary Education Service Area Office 2, obtained by simple random sampling. The employed research instruments were a questionnaire on operational state of school development strategies toward ASEAN community, with reliability coefficient of .96, and an interview form concerning problems and suggestions for development of the operation of the school development strategy toward the ASEAN community. The research data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and content analysis. The research findings were as follows: (1) the overall operational state of school development strategies toward ASEAN community of education expansion schools was rated at the high level; (2) teachers with different educational qualifications and teaching experiences did not significantly differ in their perceptions on the overall operational state of school development strategies toward ASEAN community; and (3) problems concerning the operational state of school development strategies toward ASEAN community were as follows: the schools' learning time structure focusing on development of vocational skills rather than ASEAN studies; the school administrators' lack of supervising and monitoring the implementation of school curriculum; the teachers' lack of understanding of the ASEAN content framework and lacked training on the use of English for communication skills; the administrators' lack of cooperation in development of the ASEAN Community Network; the schools' lack of up-to-date media and technology; and the teachers' lack of knowledge and skills in using technology; while recommendations for solving problems were the following: the Primary Education Service Area Office should develop school administrators and teachers to equip them with knowledge and understanding on ASEAN curriculum and subsequently to enable them to integrate ASEAN studies for learning in classroom under systematic supervision and follow-up; the Office should also concretely promote and support the development of cooperative networks with ASEAN community; moreover, the administrators should encourage and develop teachers and students in different ways to use English and technological media for learning efficientlyen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156575.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons