Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorบริบูรณ์ ปิ่นประยงค์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุณิสา จรัสวิศรุต, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-03T01:14:57Z-
dc.date.available2023-07-03T01:14:57Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7063-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการจัดการท่าอากาศยาน ภูเก็ต เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์การ (2) ศึกษาระดับความสำเร็จในการจัดการท่า อากาศยานภูเก็ต เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมุมมองของพนักงานท่าอากาศยานภูเก็ตและบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานใน ท่าอากาศยานภูเก็ต (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานท่าอากาศยานภูเก็ตและบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานในท่า อากาศยานภูเก็ต ต่อความสำเร็จในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของท่าอากาศยานภูเก็ต (4) ศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผล ต่อความสำเร็จในการจัดการท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานท่าอากาศยานภูเก็ตและลูกจ้างจำนวน 371 คน บุคคลภายนอกที่ ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์และผู้ประกอบการสายการบิน จำนวน 148 คน กำหนด ขนาดตัวอย่างด้วยสูตรของยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 226 คน แบ่งเป็นพนักงานท่าอากาศยานภูเก็ต จำนวน 156 คน และ บุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต 70 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มแบบง่าย เครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารของท่าอากาศยานภูเก็ต จำนวน 11 คน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ตัวแปร ส่งผ่าน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการจัดการท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นพนักงานท่าอากาศยาน และผู้ตอบ แบบสอบถามที่เป็นบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต อยู่ในระดับ “มาก” และ “ปานกลาง” ตามลำดับ (2) ระดับความสำเร็จในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของท่าอากาศยานภูเก็ต โดยรวม ตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็น พนักงานท่าอากาศยานภูเก็ต และตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศ ยานภูเก็ต อยู่ในระดับ “มาก” และ “ปานกลาง” ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่ม มีความเห็นว่าท่าอากาศยานภูเก็ต มีความสำเร็จใน การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (3) ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นพนักงานท่าอากาศ ยานภูเก็ต และผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคคลภายนอกมีความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของท่าอากาศ ยานภูเก็ต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (4) เมื่อวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านพบว่าปัจจัยภายในองค์การด้านการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ได้รับอิทธิพลส่งผ่านจากปัจจัยภายในองค์การด้านนโยบายและกลยุท์องค์การ ปัจจัยภายในด้าน นโยบายและกลยุทธ์องค์การกับปัจจัยภายในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้รับอิทธิพลส่งผ่านจากปัจจัยภายนอก องค์การ แต่ไม่สามารถส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของท่าอากาศยานภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แต่หากวิเคราะห์การส่งผลโดยตรงแล้ว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่าปัจจัยภายนอกองค์การส่งผลโดยตรงต่อ ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของท่าอากาศยานภูเก็ต โดยมีความสำคัญมากกว่าปัจจัยภายในองค์การด้านนโยบายและกลยุทธ์ องค์การ กับปัจจัยภายในองค์การด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีค่าสัมประสิทธ์ิการถดถอย เท่ากับ 0.205 0.202 และ 0.184 ตามลำดับ มีความสามารถพยากรณ์ผลการวิเคราะห์ได้ร้อยละ 3.8 4.1 และ 4.9 ตามลำดับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.351en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต -- การจัดการth_TH
dc.titleปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนth_TH
dc.title.alternativeKey success factors for sustainable development management of the Phuket International Airportth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research has objectives in order to (1) study key factors, both internal and external, of success of Phuket International Airport management for sustainable development.; (2) study the level of the successful management of Phuket International Airport to the sustainable development according to the perspective of Phuket International Airport staffs and outsiders who work in the airport; (3) study comparison of the opinions between Phuket International Airport staffs’ perspective and outsiders who work in the airport to achievement in Phuket International Airport sustainable development, and (4) study the internal and external factors for impact on success of Phuket International Airport management for sustainable development. The population of this research was Phuket International Airport staffs 371 persons and outsiders work in the airport, commercial enterprises and airlines operation, 148 persons. Among these, 226 samples were chosen by the application of Taro Yamane’s calculation. The samples were stratified random sampling and sample Random Sampling consisted of 156 Phuket International Airport staffs and 70 outsiders. The study tools are questionnaire survey and formal interview with 11 Phuket International Executives. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test analysis, mediation analysis, the simple linear regression analysis, and content analysis. The result of research found that (1) The external and internal factors those related the successful management of Phuket International Airport to the sustainable development. Both of the opinions from the respondent group who are Phuket International Airport staffs and the outsider were accepted at high level and moderate level respectively. (2) Based on the successful development of Phuket International Airport sustainability, the opinions from the respondent group of Phuket International Airport staffs and the outsiders were high level and middle level respectively. But these two respondent groups have agreed that Phuket International Airport has succeeded to sustainable development in term of economy more than in term of society and environment. (3) The comparison between Phuket International Airport staffs opinions and outsiders who work in the airport opinions found that there were different between both groups with statistical significance level at 0.05. (4) For the mediation analysis, the internal factors policies and organizational strategy were influenced by internal factor human resource management. Internal factors policies and organization strategy and internal factors human resource management were influenced by external factors but all of that could not affect the result of the successful management of Phuket International Airport to the sustainable development with statistical significance level at 0.05. But the results in direct effect found that external factors influenced to successful management of Phuket International Airport to the sustainable development more than both of internal factors. The regression coefficient were 0.205 0.202 and 0.184 and the predictive ability were 3.8, 4.1, and 4.9 percent, respectivelyen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143290.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons