Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7079
Title: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
Other Titles: | Popular participation in procurement system of Sub-District Administrative Organizations in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
Authors: | ปภาวดี มนตรีวัต มารีณี บุญรอด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รังสรรค์ ประเสริฐศรี |
Keywords: | องค์การบริหารส่วนตำบล--การจัดซื้อ--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดซื้อ จัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) การมีส่วนร่วมของกรรมการตัวแทนประชาชนในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยะยา (4) ปัญหาอุปสรรคของมีส่วนร่วมของกรรมการตัวแทนประชาชนในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและแนวทางการแก้ไขการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 428 คน ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป 391 คน ผู้นำชุมชน 9 คน กรรมการตัวแทนประชาชน 16 คน และข้าราชการส่วนตำบล 12 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์โดยมีโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการรับรู้เกี่ยวกับการต้องมีกรรมการตัวแทนในการจัดซื้อจัดจ้าง ในการประชาคมเพื่อคัดเลือกกรรมการตัวแทน ในการสังเกตการจัดซื้อจัดจ้าง มีความเห็นว่าบทบาทของตนในการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ในระดับน้อย อย่างไรก็ตาม ก็เห็นว่าการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างมีประโยชน์ปานกลาง (2) ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กมีปัญหาอุปสรรคมากกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางและขนาดใหญ่ (3) การมีส่วนร่วมของกรรมการตัวแทนประชาชนในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า กรรมการตัวแทนมีบทบาทค่อนข้างน้อย ไม่มีการเตรียมการก่อนการปฏิบัติหน้าที่ การได้มาซึ่งกรรมการตัวแทนส่วนใหญ่ได้มาโดยการคัดเลือกในที่ประชุมอื่น นอกจากนั้น กรรมการตัวแทนยังมีความรู้ความสามารถในระดับน้อย อย่างไรก็ตาม ผลของการมีกรรมการตัวแทนประชาชนมีข้อดีคือช่วยลดปัญหาความขัดแย้งได้ รวมทั้งส่งเสริมความโปร่งใส ในส่วนของสิ่งที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของกรรมการตัวแทน พบว่าได้แก่การเป็นผู้นำของผู้ที่ได้รับเลือก (4) ปัญหาอุปสรรคของมีส่วนร่วมของกรรมการตัวแทนประชาชน ได้แก่ปัญหากรรมการตัวแทนคนเดิมได้รับเลือกซ้ำ เนื่องจากประชาชนไม่ต้องการมีส่วนร่วม และปัญหาการที่กรรมการไม่ทราบรายละเอียดข้อมูลและขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเนื่องมาจากการขาดทักษะและการไม่ได้รับเอกสารจากองค์การบริหารส่วนตำบล แนวทางแก้ไขได้แก่ การเพิ่มการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเลือกกรรมการตัวแทน รวมไปถึงการปรับปรุงการทำหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตัวแทน นอกเหนือไปกว่านั้นควรส่งเสริมให้มีการคัดเลือกกรรมการตัวแทนประชาชนเป็นรายโครงการของการจัดซื้อจัดจ้าง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7079 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
114873.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License