กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7091
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting community strenght of Samchuk Handred Years Market in Samchuk District, Suphan Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิศเพลิน เขียวหวาน อำไพ สว่างศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ |
คำสำคัญ: | ชุมชน--ไทย--สุพรรณบุรี ตลาดสามชุกร้อยปี (สุพรรณบุรี) |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เสนอแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นตัวแทนประชาชนของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับที่เข้มแข็งมาก 2) ปัจจัยด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน และปัจจัยด้านการบริหารจัดการชุมชน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (Beta) เท่ากับ .427,.233, .228 ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี คือ ทางจังหวัดสุพรรณบุรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณากำหนดเป็นนโยบายที่จะให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น งบประมาณ และความรู้ทางวิชาการด้านการบริหารงานของคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ ควรจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการ และกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่งรวมทั้งควรส่งเสริมการมีส่วนร่วม การสร้างความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดอง และควรปลูกฝังจิตสำนึกให้ชุมชนรู้รักษาสิ่งแวดล้อม และร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7091 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
114874.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License