กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7106
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในงานของบุคลากรในสถานสงเคราะห์ : ศึกษาเปรียบเทียบสถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรีกับสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The job satisfaction of the officers in orphanages education : a comparative study between Saraburi Home for Girls and Rajvithi Home for Girls / Job satisfaction of the officers in orphanages education : a comparative study between Saraburi Home for Girls and Rajvithi Home for Girls
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงส์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉวีวรรณ โตสมภาพ, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรี--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สถานสงเคราะห์เด็ก--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสถานสงเคราะห์เด็กหญิง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรี กับ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสถานสงเคราะห์เด็กหญิง 4) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานสงเคราะห์เด็กหญิง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรี จำนวน 34 คน กับ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี จำนวน 74 คน รวมทั้งสิ้น 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบื่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธีแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรี กับ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี มีความพึงพอใจในองค์ประกอบด้านอนามัยโดยรวมอยู่ในระดับมีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมีมากด้านโยบายและการบริหารองค์การ ด้านการบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา มีความพึงพอใจในระดับมีบ้าง ด้านสภาพการทำงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับ 2) สถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรี กับสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี มีความพึงพอใจในองค์ประกอบด้านการจูงใจในระดับมาก 3) เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในด้านอนามัยและด้านการจูงใจพบว่า สถานสงเคราะห์เด็กหญิงเด็กหญิงจังหวัดสระบุรี กับ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีมีความพึงพอใจในการทำงานไม่ต่างกัน 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงทั้ง 2 แห่งตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการทำงานไม่ต่างกัน ส่วนประเภทการรับราชการ รายได้ และอายุงานที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการทำงานต่างกัน 5) สำหรับปัญหาที่สำคัญได้แก่ การประสานงานและความสัมพันธ์ของบุคลากรในหน่วยงานที่มีการแบ่งฝ่าย แบ่งงานทำงานเฉพาะในความรับผิดชอบของตนเองเท่านั้น ซึ่งควรแก้ไขโดยการ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมในหน่วยงาน และการสับเปลี่ยนงานบางตำแหน่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7106
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_113228.pdf4.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons