Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7116
Title: | ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารโคนมของเกษตรกรในเขตภาคใต้ |
Other Titles: | Marketing factors affecting buying cow feed behavior of farmers in Southern Region |
Authors: | เชาว์ โรจนแสง สุนันทา ใหม่น้อย , 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี อาหารสัตว์--การตลาด เกษตรกร--ไทย (ภาคใต้) การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค--การตลาด.--ไทย |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้ออาหารโคนมของเกษตรกรในเขตภาตใต้ (2) ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารโคนมของเกษตรกรในเขตภาคใต้ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการซื้ออาหารโคนมของเกษตรกรในเขตภาคใต้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในศึกษาคือ เกษตรกรในเขตภาคใด้ จำนวน 292 คน โดยวิธีการสุ่มแบบโควตา ซึ่งใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41- 50 ปี มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีรายได้ต่อเดือน 10,001 -20,000 บาท มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน มีจำนวนแรงงาน 25 คน มีจำนวนโคนม รวมทั้งฝูง 21-30 ตัว มีจำนวนโครีดนม 11-20 ตัว มีปริมาณน้ำนมดิบมากกว่า 250 กก./วัน และส่งน้ำนมดิบให้แก่สหกรณ์ ส่วนใหญ่ซื้ออาหารโคนมสำเร็จรูปชนิดเม็ด โดยซื้อเดือนละ 2 ครั้ง ด้วยวิธีการจ้างรถบรรทุกรับจ้างไปซื้อ และชำระเงินโดยหักจากค่าน้ำนมดิบผ่านสหกรณ์ (2) ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารโคนมของเกษตรกรในเขตภาคใต้ จำแนกตามปัจจัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัจจัยที่มีผลสูงสุดเรียงตามลำดับดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการซื้ออาหารโคนมของเกษตรกรในเขตภาคใต้ ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญตามลำดับดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ควรมีการควบคุมคุณภาพของอาหารโคนมให้เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ด้านราคา ควรให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องการปรับขึ้นราคาของอาหารโคนมเพราะราคาอาหารเป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร ด้านช่องทางการจำหน่าย ควรมีการจัดส่งอาหารโคนมโดยไม่คิดค่าขนส่งเพื่อเป็นการลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร และด้านการส่งเสริมการตลาด ควรมีการแจกของแถมของสมนาคุณต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเลี้ยงโคนม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7116 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_118130.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License