กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/711
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนต่อหน่วยของการให้บริการของสถานีอนามัยในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2549
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Unit costs of health service provision in Health Center of Nongki District, Buriram Province in fiscal year 2006
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์
ชนินทร์ พวงมาลัย, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ขวัญชัย วิศิษฐานนท์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สถานีอนามัย--ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
สถานบริการสาธารณสุข--ไทย--ต้นทุนและประสิทธิผล.
สถานีอนามัย--ต้นทุนและประสิทธิผล
สถานบริการสาธารณสุข--ไทย--ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน.
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการของสถานีอนามัย สังกัดสํานักงานสาธารณสุขอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2549 โดยวิเคราะห์ต้นทุนทางบัญชีในทัศนะของผู้ให้บริการ เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 - 31 มีนาคม 2549 จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ และเก็บข้อมูลไปข้างหน้าตั้งแต่ 1 เมษายน - 30 กันยายน 2549 ประชากรที่ศึกษาคือ สถานีอนามัยจำนวน 11 แห่งในอำเภอหนองกี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ อัตราส่วน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยดำเนินการศึกษาต้นทุนทางบัญชีตามองค์ประกอบต้นทุน คือ ต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุและค่าลงทุน ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนรวมทางตรงของสถานีอนามัยเฉลี่ยเป็นเงิน 1,115,263,40 บาทต่อแห่ง โดยมีอัตราส่วนต้นทุนค่าแรงต่อค่าวัสดุและค่าลงทุน เท่ากับ 4 :3.5 คิดเป็นร้อยละ 47, 41 และ 12 ตามลำดับต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการแต่ละกิจกรรมของสถานีอนามัยมีค่าเฉลี่ยดังนี้ งานรักษาพยาบาล 76.89 บาทต่อครั้ง งานทันตสาธารณสุข 156.09 บาทต่อครั้ง งานแพทย์แผนไทย 316.69 บาทต่อครั้ง งานจัดทำแฟ้มสุขภาพระดับครัวเรือนและงาน เยี่ยมบ้าน 97.75 บาทต่อหลังคาเรือน งานคุ้มครองผู้บริโภค 322.42 บาทต่อร้านค้า งานพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน 5,832.95 บาทต่อหมู่บ้าน งานออกกําลังกาย 5.50 บาทต่อคน งานอุบัติเหตุ 374.92 บาทต่อครั้ง งานยาเสพติดและ To Be Number One 993.35 บาทต่อครั้ง งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 141.19 บาทต่อครั้ง งานควบคุมโรคติดต่อ 61.79 บาทต่อหลังคาเรือน งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ 26.69 บาทต่อคน งานวางแผนครอบครัว 119.42 บาทต่อครั้ง งานอนามัยแม่และเด็ก 291.14 บาทต่อครั้ง งานอนามัยโรงเรียน 16.70 บาทต่อคนงาน ศึกษา 1,138.07 บาทต่อครั้ง งานสุขาภิบาลและอาชีวอนามัย 94.44 บาทต่อหลังคาเรือน งานโภชนาการ 26.39 บาทต่อคน ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้เพื่อ จัดเตรียมหรือขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งในอนาคตจะต้องโอนสถานีอนามัยไปอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) ควรจัดซื้อครุภัณฑ์ที่จำเป็นและตรงตามความต้องการการใช้งาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/711
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
102033.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons