กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7129
ชื่อเรื่อง: การผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปในจังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The production of rubber wood industry in Songkla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤมล สืบชนะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมไม้ยางพารา--ไทย--สงขลา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การผลิตของอุตสาหกรรมไม้ยางพารา แปรรูปในจังหวัดสงขลาในด้านลักษณะของกิจการปัจจัยการผลิต และวิธีการผลิต (2) ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปในจังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรระดับบริหารหรือผู้จัดการโรงงานของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปในจังหวัดสงขลา จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า (1) ลักษณะของโรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่จะเป็นโรงเลื่อยเพียงอย่างเดียว รองลงมาจะเป็นกิจการที่ดำเนินการทั้งโรงเลื่อย และโรงอบ ส่วนใหญ่ดำเนินกิจการมากกว่า 6 ปี วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้มาจากภายในประเทศและอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากจังหวัดสงขลา ยะลา และสุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน โรงงานทั้งหมดใช้เครื่องเลื่อยสายพานเป็นหลักโดยลักษณะของโต๊ะเลื่อยส่วนใหญ่ใช้โต๊ะเลื่อย แบบโต๊ะเดี่ยว แรงงานฝีมือที่ผ่าซอยไม้จะเป็นเพศชาย มีประสบการณ์ในการเลื่อยไม้ 3 ปี มีการศึกษาตํ่ากว่า ม.6 โดยวิธีการผลิตใช้วิธีการแปรรูปแบบเลื่อยดะ แบบดีปอน และแบบแบ่งครึ่ง โดย วิธีการแปรรูปแบบเลื่อยดะจะได้ปริมาณผลผลิตสูงและคุณภาพดีที่สุด (2) ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปในจังหวัดสงขลาที่พบเป็นลำดับแรกคือ ปัญหาด้านการผลิต โดยมีปัญหาด้านไม้ยางพาราท่อนที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปและราคาไม้ยางพาราท่อน ที่รับซื้อเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอยู่ในระดับมาก ปัญหาลำดับที่สองคือ ปัญหาด้านแรงงาน โดยมีปัญหา เรื่องการจัดหาแรงงานเป็นปัญหาลำดับแรก ระดับของปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาลำดับที่สามคือ ปัญหาด้านเครื่องจักร โดยมีปัญหาเรื่องการจัดหาเครื่องจักรเพื่อนำมาใช้ในโรงงานเป็น ปัญหาลำดับแรก ระดับปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาลำดับสุดท้ายคือ ปัญหาด้านการเงิน ซึ่งทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7129
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127296.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons