กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7133
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational culture which affects effectiveness of the personal's performance of the Office of the Election Commission of Thailand / Organizational culture which affects effectiveness of the personal's performance of the Office of the Election Commission of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติวีร์ มุตตาหารัช, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง--การบริหารงานบุคคล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วัฒนธรรมองค์การ
การทำงาน--การประเมิน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมองค์การ (2) ลักษณะของวัฒนธรรมองค์การ (3) รูปแบบวัฒนธรรมองค์การ (4) วิเคราะห์ถึงการจัดการกับวัฒนธรรมองค์การ และ (5) วิเคราะห์ถึงวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นพนักงานการเลือกตั้งที่ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 334 คน แยกเป็นผู้บริหารระดับสูงจำนวน 5 คน ผู้บริหารระดับกลาง ส่วนภูมิภาค 13 คน ส่วนกลาง 19 คน พนักงานปฏิบัติงานระดับกลาง ส่วนภูมิภาค 181 คน ส่วนกลาง 96 คน พนักงานปฏิบัติงานระดับตัน ส่วนภูมิภาค 10 คน ส่วนกลาง 10 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างในระดับกลุ่มผู้บริหารใช้วิธีการเจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ส่วนระดับพนักงานปฏิบัติงาน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย โดยการจับสลากให้ได้จำนวนตามขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านกลยุทธ์ มีแนวโน้มที่จะเลือกกลยุทธ์ที่ไม่มีความเสี่ยงซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ทำให้พนักงานปราศจากความคิดสร้างสรรค์ (2) ด้านโครงสร้างองค์การจะเป็นแบบสูงมีการกระจุกตัวของอำนาจการตัดสินใจ โดยศูนย์รวมอำนาจ ทำให้ประสิทธิภาพการตัดสินใจล่าช้า (3) ด้านระบบการทำงาน เต็มไปด้วยกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันข้อบกพร่องและจุดอ่อนทำให้ลักษณะเป็นการทำงานให้เสร็จเฉพาะที่ได้รับมอบหมายและปฏิเสธการทำงานที่เห็นว่าเป็นการเสี่ยง (4) ด้านรูปแบบ การปฏิบัติงานยึดติดการทำงานแบบเดิมไม่ชอบความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ไม่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม (5) ด้านบุคคลให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก (6) ด้านทักษะ ให้ความสำคัญในความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะด้านกฎหมายทำให้พนักงานที่เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ขาดขวัญกำลังใจ และ (7) ด้านค่านิยมร่วม มีลักษณะไม่ยืดหยุ่น ไม่เปิดกว้างที่จะรับฟังความคิดเห็นและวิธีการที่หลากหลายรวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7133
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_118938.pdf6.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons