Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/713
Title: | บทบาทของพระสงฆ์ในการผลักดันให้มีการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2550 |
Other Titles: | The role of Buddhist monks in pushing to have Buddhism established as the national religion from 1994-2007 |
Authors: | วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน พระสมพงษ์ พูลสุข, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ฐปนรรต พรหมอินทร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์ พุทธศาสนากับการเมือง พระสงฆ์--ไทย ศาสนากับการเมือง |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา 1. ความเป็นมา สาเหตุ วัตถุประสงค์ ของขบวนการ เคลื่อนไหวของกลุ่มพระสงฆ์ในการผลักดันให้มีการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. พฤติกรรมของกลุ่มพระสงฆ์ในการผลักดันให้มีการบัญญัติ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ เคลื่อนไหวผลักดันให้มีการบัญญัติพระทุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาชักร ไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นมาของการชุมนุมเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ในการผลักดันให้มีการ บัญญัติพระทุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ ความต่อเนื่องของ แนวคิดที่ต้องการให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และสภาวะการณ์ที่เหมาะสมของสังคมการเมืองใน ขณะนั้น สาเหตุของการเคลื่อนไหวเกิดจากความต้องการของกลุ่มพระสงฆ์ที่พัฒนาพระพุทธศาสนาใน เรื่องของการเผยแผ่ ให้มีประสิทธิภาพกว้างขวางยิ่งขึ้น และความต้องการที่จะให้ภาครัฐให้ความสำคัญดูแล สนับสนุนพระทุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ให้มีความมั่นคง และวัตถุประสงค์ของการชุมนุมเคลื่อนไหว คือ ความต้องการที่จะให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติโดยนิตินัยและเป็นห่วงภัยคุกคามจากนอกศาสนา 2. พฤติกรรมของกลุ่มพระสงฆ์ในการผลักต้นให้มีการบัญญัติพระทุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ คือ พระสงฆ์ชั้นปกครองและพระสงฆ์แกนนำมีความคิดเห็นว่าเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่ต้องปกป้องพระพุทธศาสนาและไม่เป็นการผิดในด้านวินัยสงฆ์ที่พระสงฆ์ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหว โดยยกประเด็นข้อดีของการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเผยแผ่ผ่านขบวนการสื่อสาร ได้แก่ การบรรยายธรรมะ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออินเทอร์น็ต และชักชวนให้พระสงฆ์ใต้บังคับบัญชาและฆราวาสลูกศิษย์ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหว กลุ่มพระสงฆ์ที่เข้าร่วมชุมนุมมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน เช่น เดินขบวนเรียกรัองที่หน้าทำเนียบรัฐบาล อดอาหารกดดันต่อฝ่ายการเมือง 3. ผลกระทบที่เกิดขนจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพระสงฆ์ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกลับการกระทำของกลุ่มพระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหว เพราะพระสงฆ์ไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในกลุ่มประชาชนที่มีความคิดเห็นว่าเป็นการถูกต้องแลัวที่พระสงฆ์ออกมาเคลี่อนไทว เพื่อที่พระพุทธศาสนามีความมั่นคงในด้านกฎหมายของประเทศ เพราะพระทุทธศาสนาสามารถช่วยพัฒนาสังคมไทยให้มีความสงบสุขได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/713 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
124346.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License