Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7143
Title: คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000
Other Titles: Service quality as expected and perceived by clients in ISO 9000 Quality management system assessment / Service quality as expected and perceived by clients in ISO9000 Quality management system assessment
Authors: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธีร์ ประดิษฐ์ธรรม, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการลูกค้า
ไอเอสโอ 9000
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การบริหารคุณภาพโดยรวม
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9000 2) เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการ 3) เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการ จำแนกตามบริษัทผู้ให้บริการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9000 และ4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพบริการการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9000 การศึกษาครั้งนี้ประชากรคือ ผู้รับบริการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9000 ในสาขาอุตสาหกรรมเครื่องมือทางไฟฟ้าและอุปกรณ์ ที่ได้รับบริการจาก 3 บริษัทได้แก่ บริษัท SGS (Thailand) Limited, Management System Certification Institute (Thailand): MASCI และ Bureau Veritas Certification (Thailand) Ltd. จำนวน 200 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 133 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทคสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9000 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยด้านที่มากที่สุด คือ ด้านการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ซึ่งผู้รับบริการคาดหวังมากที่สุดในความรู้ความสามารถในวิชาชีพของเข้าหน้าที่ และมีการรับรู้มากที่สุดในความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพของเจ้าหน้าที่ 2) คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการ แตกต่างกันในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยแตกต่างกันมากที่สุดในด้านการตอบสนองในการบริการ 3) คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการ จำแนกตามบริษัทผู้ให้บริการ 3 บริษัท ไม่แตกต่างกัน และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพบริการส่วนมากเป็นด้านการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการในเรื่องความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และความสามารถในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7143
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_119796.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons