Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7173
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | อรพินท์ คงคาเย็น, 2517- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-04T02:33:47Z | - |
dc.date.available | 2023-07-04T02:33:47Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7173 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง "การศึกษาความพร้อมการใช้โซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพมหานคร" มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมในการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการโซ่อุปทานของผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของความพร้อมโดยรวมขององค์กรจำแนกตามขนาดขององค์กรในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป 3) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงภายในสายโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผู้ขายปัจจัยการผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และ 4) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ผลิตเสื้อผู้สำเร็จรูปในการนำกลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทานมาใช้ในองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริษัทอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพฯ ที่เป็นสมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย โดยทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีอาศัยความน่าจะเป็น จำนวน 168 ตัวอย่าง และสุ่มแบบเจาะจงเลือกศึกษาเฉพาะผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ผลิตส่วนใหญ่มีความพร้อมโดยรวมต่อการจัดการโซ่อุปทานอยู่ในระดับปานกลาง และระดับความพร้อมเฉลี่ยแต่ละด้านมีค่าใกล้เคียงกัน ซึ่งพบว่าระดับความพร้อมด้านกระบวนงานมีมากสุด รองลงมาคือ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี และความพร้อมด้านทรัพยากร ตามลำดับ 2) ขนาดขององค์กรที่แตกต่างกันมีผลต่อค่าเฉลี่ยของระดับความพร้อมในองค์กรต่อการใช้โซ่อุปทานซึ่งองค์กรขนาดใหญ่ในด้านทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีจะมีความพร้อมมาก ยกเว้นความพร้อมเฉลี่ยด้านทรัพยากรมนุษย์เท่านั้นที่ไม่มีความแตกต่างกันตามขนาดองค์กร ส่วนองค์กรขนาดกลางและเล็กอยู่ในระดับปานกลาง มีความพร้อมเฉลี่ยแต่ละด้านมีค่าใกล้เคียงกัน 3) สำหรับความเชื่อมโยงภายในสายโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิต ผู้ขายปัจจัยการผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปนั้นมีลักษณะการเชื่อมโยงที่คล้ายคลึงกัน โดยองค์กรส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับความต้องการลูกค้าเป็นอันดับแรก เนื่องจากความต้องการของลูกค้าจะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่สายงานที่เชื่อมโยงกันสำหรับการผลิต 4) ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการจัดการโช่อุปทาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงในการนำกลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทานมาใช้ในองค์กร | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป | th_TH |
dc.title | การศึกษาความพร้อมการใช้โซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | Study on the readiness of use of supply chain in Garment Industry in Bangkok Metropolis | th_TH |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_121958.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License