กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/718
ชื่อเรื่อง: | ผลลัพธ์การบริการผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The outcomes of elderly services in Sub-district health promoting hospitals, Uthumphonphisai District, Srisaket Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา บงกชรัตน์ จันทร์สนิทศรี, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ ผู้สูงอายุ--บริการทางการแพทย์--ไทย--ศรีสะเกษ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การบริการผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และเปรียบเทียบผลลัพธ์การบริการผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีแพทย์ตรวจกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ไม่มีแพทย์ตรวจ ประชากรที่ศึกษาคือผู้สูงอายุที่ป่วย ด้วยโรคเรื้อรังตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง อาศัยอยู่ในอำเภออุทุมพรพิสัย และรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาจำนวน 1,818 คน กลุ่มตัวอย่างได้จาก การสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบวา ผลลัพธ์การบริการผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับสูง (X̅ =4.12, SD =0.40) และการเปรียบเทียบผลลัพธ์การบริการผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีแพทย์ตรวจกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ไม่มีแพทย์ตรวจโดยรวมไม่แตกต่าง (p > .05) แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านสรีรวิทยาและด้านสุขภาพครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีแพทย์ตรวจกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ไม่มีแพทย์ตรวจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และพิจารณาเป็นรายข้อมี 11 ข้อที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ได้แก่ ข้อ 2. ท่านรู้สึกตนเองไม่มีเรี่ยวแรงหรืออ่อนเพลีย ข้อ 14. ท่านถ่ายอุจาระน้อยกวา 3 ครั้งต่อสัปดาห์อุจจาระแข็ง หรือมีอาการเจ็บทวารหนักเวลาถ่าย ข้อ 15. ท่านมีอาการหลงลืม เช่น ลืมเพื่อนสนิทหรือญาติสนิทที่พบกันประจำ ข้อ 16. ท่านได้ยินเสียงหวีดก้องในหูโดยหาที่มาของเสียงไม่่ได้มักมีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา และมีเสียงดังมากขึ้นเมื่ออยู่ที่เงียบ ข้อ 25. ท่านมีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ ข้อ 27. ท่านมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่กำลังเจ็บป่วย ข้อ 28. ท่านกินอาหารครบ 5 หมู่และควบคุมสัดส่วนปริมาณให้พอเหมาะ ข้อ 37. ท่านใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ และไปตรวจตามนัด ข้อ 45. สมาชิกในครอบครัวของท่านมีปัญหาสุขภาพ ข้อ 47.ท่านรู้ว่าครอบครัวมีความเครียดในการดูแลท่าน ข้อ 49. ผู้ดูแลสามารถปรับตัวดูแลท่านได้ทุกสภาวะการเจ็บป่วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/718 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext 153725.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License