กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7208
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Job satisfaction of accounting and finance staff in Bumrungrad Hospital Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกียรติสุดา ฉัพพัณณรังษี, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)--พนักงาน--ความพึงพอใจในการทำงาน
ความพอใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของพนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) รวมทั้ง เพื่อเป็นการเสนอแนวทางในการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่อไป การศึกษาครั้งนีเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น พนักงานฝ่ายบัญชีและการเงิน จำนวน 174 คน และใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา รองลงมาคือ นโยบายของหน่วยงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ การยอมรับ นับถือ ความก้าวหน้าในตำแหน่ง และเงินเดือนและสวัสดิการ ตามลำดับ ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พบว่า เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน รายได้ต่อเดือน และแผนกที่ปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ ควรมีการพิจารณาขึ้นเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการให้พนักงานระดับล่าง และระดับกลาง และการพัฒนาศักยภาพการ ทำงานมากยิ่งขึ้น อาทิ การฝึกอบรม และการศึกษาดูงาน เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร รวมทั้งควรมีการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในแผนกที่มีภาระงาน ค่อนช้างมาก ส่วนข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อเป็น ต้นแบบในการขยายผลให้กับหน่วยงานอื่นต่อไป อาทิ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน รูปแบบและวิธีการให้คำแนะนำ และวิธีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของหน่วยงาน เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7208
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_128463.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons