Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนันทพร สุนสาระพันธุ์, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-05T01:12:43Z-
dc.date.available2023-07-05T01:12:43Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7246-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาบุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิผลของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชากรที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม จำนวน 347 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 181 คน การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยประเมินหลักสูตรพบว่า (1) บุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมในภาพรวม ได้รับการพัฒนาในระดับมาก โดยบุคลากรในกองนิติวิทยาศาสตร์ได้รับการพัฒนามากที่สุด (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรได้แก่ การเสนอความเห็นอย่างจริงใจจากหัวหน้าหน่วยงานขององค์การ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากร ขนาดของพันธกิจและโครงสร้างองค์การ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่จากผู้บริหารองค์การ สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร และการทำให้บุคลากรมีความรู้สึกว่าทุกคนมีส่วนร่วมและมีส่วนสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์การสำหรับปัจจัยด้านการเสนอความเห็นอย่างจริงใจจากหัวหน้าหน่วยงานขององค์การส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากรและการสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่จากผู้บริหารองค์การโดยมีสัมประสิทธิ์การอธิบายเท่ากับ 0.399 แสดงว่าตัวพยากรณ์ทั้ง 3 ตัวสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้ร้อยละ 39.90 มีความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์เท่ากับ 0.042 (3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรได้แก่ การไม่มีงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาบุคลากร บุคลากรบางกลุ่มไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรโดยเฉพาะลูกจ้างชั่วคราว สำหรับแนวทางแก้ไขภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณควรใช้แหล่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากแหล่งภายนอกสำหรับเสริมสร้างความรู้และทักษะทั่วไปแก่บุคลากร เช่น การพัฒนาด้วยการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะจากทั้งส่วนราชการและเอกชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสถาบันนิติวิทยาศาสตร์th_TH
dc.subjectการพัฒนาบุคลากรth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the success of the personnel development of Forensic Science Ministry of Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study level of personnel development of Forensic Science Institute, Ministry of Justice (2) to study factors affecting the success of the personnel development of Forensic Science Institute, Ministry of Justice (3) to study problems, obstacles and guidelines for efficient personnel development of Forensic Science Institute, Ministry of Justice. This research was a survey research which used a questionnaire as research tool of data collection. Population was 347 officials including officials, employees and temporary officials of Forensic Science Institute, Ministry of Justice. Samples were 181 personnel. Sampling was quota sampling method. Statistical tools employed frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way analysis of variance, Pearson correlation coefficient, multiple linear regression analysis and content analysis. Research results revealed that (1) an overview image of personnel development of Forensic Science Institute, Ministry of Justice was at high level and personnel of Forensic Science Department was at highest mean (2) key success factors affecting the personnel development of Forensic Science Institute, Ministry of Justice were as follows : showing sincere opinions from heads of departments, having experts on personnel development, quantity of missions, organizational structure, modern technology, supporting and participating of executives of the Institute, health and sanitation and safety in work implementation and making the sense of mutual participation and relation. Factor regarding showing sincere opinions from heads of departments affected the most positive correlation toward the work success, followed by having experts on personnel development and supporting and participating of executives of the Institute with the value at 0.399. That meant three factors could predicted the accuracy of successful development at statistically significant at 0.05 or at the percentage of 39.90 and error at 0.042 (3) Problems of personnel development were insufficient of budget allocation, some of personnel had not been developed especially temporary officials. Guideline for future development under the restriction of limited budget were there should provide external trainers for knowledge and general skills building such as training through public electronic media of government and private sectorsen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152067.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons