Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7246
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
Other Titles: Factors affecting the success of the personnel development of Forensic Science Ministry of Thailand
Authors: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทพร สุนสาระพันธุ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
การพัฒนาบุคลากร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาบุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิผลของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชากรที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม จำนวน 347 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 181 คน การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยประเมินหลักสูตรพบว่า (1) บุคลากรของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมในภาพรวม ได้รับการพัฒนาในระดับมาก โดยบุคลากรในกองนิติวิทยาศาสตร์ได้รับการพัฒนามากที่สุด (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรได้แก่ การเสนอความเห็นอย่างจริงใจจากหัวหน้าหน่วยงานขององค์การ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากร ขนาดของพันธกิจและโครงสร้างองค์การ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่จากผู้บริหารองค์การ สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร และการทำให้บุคลากรมีความรู้สึกว่าทุกคนมีส่วนร่วมและมีส่วนสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์การสำหรับปัจจัยด้านการเสนอความเห็นอย่างจริงใจจากหัวหน้าหน่วยงานขององค์การส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากรและการสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่จากผู้บริหารองค์การโดยมีสัมประสิทธิ์การอธิบายเท่ากับ 0.399 แสดงว่าตัวพยากรณ์ทั้ง 3 ตัวสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้ร้อยละ 39.90 มีความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์เท่ากับ 0.042 (3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรได้แก่ การไม่มีงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาบุคลากร บุคลากรบางกลุ่มไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรโดยเฉพาะลูกจ้างชั่วคราว สำหรับแนวทางแก้ไขภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณควรใช้แหล่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากแหล่งภายนอกสำหรับเสริมสร้างความรู้และทักษะทั่วไปแก่บุคลากร เช่น การพัฒนาด้วยการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะจากทั้งส่วนราชการและเอกชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7246
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152067.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons