กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7252
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949 : บริษัท ทรัยโมทรีฟ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the achievement of quality management system ISO/TS16949 : TriMotive Asia Pacific Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ อรุณ ดอกบัว, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี การควบคุมคุณภาพ--มาตรฐาน ประกันคุณภาพ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS 16949 (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยโดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ และ (4) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS 16949 ของบริษัท ทรัยโมทรีฟ เอเซีย แปซิฟิค จำกัด การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถามกับพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 78 คน ซึ่งเป็นการสำรวจจากประชากรทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติชิงอนุมาน ประมวลผลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตลอดจนการทคสอบค่าสมมติฐานโดยทคสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า (1) ปัจจัยที่ทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกด้านคุณภาพ และให้ความร่วมมือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมากที่สุดในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS 16949 (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ โดยจำแนกตามลักษณะบุคคล พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างของ เพศ ระดับอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ ระดับตำแหน่งงาน และฝ่ายที่ปฏิบัติงาน ให้ระดับความสำคัญกับปัจจัยที่ทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกด้านคุณภาพและให้ความร่วมมือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS 16949 เหมือนกัน (3) การจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS 16949 ประสบความสำเร็จโดยผ่านการตรวจประเมินจากองค์กรที่ให้การรับรอง คือ บริษัท ยูอาร์เอส จำกัด เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพที่พบคือ ไม่มีการกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของคนทั้งองค์กรให้ชัดเจน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ ในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพอย่างจริงจัง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7252 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_122322.pdf | 4.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License