กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7275
ชื่อเรื่อง: | ผลกระทบของค่าเสื่อมราคาต่อการบริหารต้นทุนการผลิตในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาการผลิตกระดาษและกระดาษแข็งด้วยเครื่องจักร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Impact of depreciation with manufacturing cost management in small and medium enterprise in Bangkok for case paper and hard paper manufactories |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนา สิทธิเลิศประสิทธิ์ คเณศ รังสิพราหมณกุล, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | ธุรกิจขนาดย่อม--ต้นทุนการผลิต ธุรกิจขนาดกลาง--ต้นทุนการผลิต ค่าเสื่อมราคา การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยซึ่งมีจำนวนกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจ ทั้งหมดของประเทศส่วนใหญ่ประสบปัญหาเนื่องจากขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการที่เป็น ระบบการกำหนดการตัดสินใจลงทุนและนโยบายค่าเสื่อมราคาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำแผนธุรกิจที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องนำมาพิจารณาเนื่องจากส่งผลกระทบต่อการพิจารณาระยะเวลา การคืนทุน การจัดหาแหล่งเงินทุน และอัตราผลตอบแทนเงินลงทุนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนแล้ว ยังมีผลกระทบเกี่ยวกับภาษีเงินได้ที่กิจการต้องเสียให้แก่รัฐอีกด้วย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของค่าเสื่อมราคาไว้ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาวิธีการกำหนดค่าเสื่อมราคาของ SMEs (2) การรับรู้ราคาทุนของที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์ และ (3) การประมาณการอายุการใช้ของอาคารและอุปกรณ์ การศึกษาทำโดยนำข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินปี 2548 ซึ่งผู้ประกอบการที่มีขนาดของทุนที่ชำระแล้วและมูลค่าสินทรัพย์ รวมไม่เกิน 5.0 ล้านบาท และ 200.0 ล้านบาทตามลำดับในเขตกรุงเทพ นำล่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์มาทำการจัดกลุ่มข้อมูลและประมวลผลเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหมดเลือกใช้วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา ด้วยวิธีเส้นตรงซึ่งส่วนใหญ่ระบุระยะเวลาในการคำนวณค่าเสื่อมราคาในระยะเวลา5 ปีและไม่มีรายใดเลยที่ระบุถึงการรวมดอกเบี้ยในการจัดหาอาคารและอุปกรณ์เป็นราคาทุน และมูลค่าสุทธิ เครื่องจักรต่อสินทรัพย์รวม ณ วันสิ้นงวดบัญชีในปื 2548 รวมเท่ากับร้อยละ 31.5 ของมูลค่า สินทรัพย์รวม ผู้ประกอบ SMEs ควรพิจารณานำอายุการใช้งานมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนด ระยะเวลาในการคำนวณค่าเสื่อมราคาเพื่อให้การกระจายการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายและการแสดงผลประกอบการสะท้อนภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นด้วย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7275 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_112577.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License