Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7284
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะข้าราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
Other Titles: Factors affecting civil service competency development at Krabi Educational elementary service area office / Factors affecting civil service competency development at Krabi Educational elementary service area office
Authors: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
แสงระวี แซ่ตั๋น, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สมรรถนะ
ข้าราชการ--ไทย--กระบี่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา--ไทย--กระบี่
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสมรรถนะของข้าราชการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ (2) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของข้าราชการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสมรรถนะของข้าราชการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ตามลักษณะส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะกับสมรรถนะของข้าราชการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น ข้าราชการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จํานวน 95 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้าราชการมีสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับดีโดยสมรรถนะด้านสมรรถนะในงาน/หน้าที่ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสมรรถนะหลัก และ ด้านสมรรถนะ ด้านบริหารและการนํา ตามลําดับ (2) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยด้านนโยบายขององค์กร ด้านการจัดการความรู้ และ ด้านค่าตอบแทน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (3) ผลการเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อสมรรถนะของข้าราชการ พบว่าข้าราชการที่มีเพศ อายุ สถานภาพการสมรส อายุราชการ กลุ่มงานที่ปฏิบัติและตําแหน่งงานที่แตกต่างกันมี สมรรถนะข้าราชการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (4) ผลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะกับสมรรถนะของข้าราชการ ทั้ง 4 ด้าน พบวา ปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของข้าราชการ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7284
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_124051.pdf14.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons