กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7289
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing to people participation in prevention of HIV infection in Pathum Thani Province / Factors influencing to people participation in prevention of HIV infection in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
เตือนใจ ระดมทอง, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การติดเชื้อเอชไอวี--การป้องกันและควบคุม--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีในจังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี ในจังหวัดปทุมธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี ในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการวิจัย คือ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ที่มีอายุระหว่าง 15 -16 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวแทนประชากร จำนวน 400 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน หาความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ 0.9667 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีในจังหวัดปทุมธานีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางการตัดสินใจอยู่ในระดับมากการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลางและการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับมาก (2) ผลการทดสอบสมมติฐาน ระดับค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี ในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบมากกว่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นการยอมรับสมมติฐานว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างมีระดับค่าเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะ ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์ สามารถประเมินตนเอง ชุมชน และสังคม เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดปัญหาเอดส์ของชาติที่ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7289
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_124128.pdf12.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons