Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7314
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิเชียร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรอุษา เจนประภาพงศ์, 2518--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-05T06:24:14Z-
dc.date.available2023-07-05T06:24:14Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7314-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากตลาดนัดเคลื่อนที่ในเขตอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากตลาดนัคเคลื่อนที่ ในเขตอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง (2) พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากตลาคนัดเคลื่อนที่ฯ (3) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการซื้อสินค้าจากตลาดนัดเคลื่อนที่ในอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ทำการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้าจากตลาดนัดเคลื่อนที่ในเขตอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปางซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยการสุ่มแบบบังเอิญ โดยสุ่มจากตลาดนัดเคลื่อนที่ จำนวน 4 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 40-49 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า อาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท (2) ผู้บริโภครู้จักตลาคนัดเคลื่อนที่ด้วยตนเอง สินค้าที่นิยมซื้อคือของใช้ในครัวเรือน เหตุผลที่ซื้อเนื่องจากสินค้ามีความหลากหลาย มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อต่อครั้งประมาณ 101-500 บาท จะใช้เวลาในการซื้อสินค้าน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ความถี่ในการซื้อสินค้า คือ สัปดาห์ละครั้ง ช่วงเวลาในการซื้อสินค้า คือ 15.00-18.00 น. และจะซื้อสินค้าใน วันอาทิตย์ ผู้บริโภคเดินทางมาตลาดนัดคนเดียว จำนวนสมาชิกในครอบครัว มีจำนวน 4-6 คน ผู้บริโภคนิยมเดินทางมาตลาดนัดโดย รถจักรยานยนต์ ระยะทางจา จากบ้าน/ที่ทำงานถึงตลาดนัดเคลื่อนที่ 1-2 กิโลเมตร ผู้บริโภคนิยมไปตลาคนัดเคลื่อนที่บ้านแม่ปุบ่อยที่สุด จะซื้อสินค้าจากตลาคนัดเคลื่อนที่ทุกครั้ง และจะซื้อต่อไป ผู้บริโภคคิดว่าความนิยมในอนาคตของตลาดนัดเคลื่อนที่จะเพิ่มมากขึ้น (3) ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการซื้อสินค้าจากตลาดนัดเคลื่อนที่ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยรวมมีความสำคัญในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยด้านราคามีผลต่อพฤติกรรมการซื้อในระดับปานกลาง เป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายและปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสำคัญในระดับน้อยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectตลาดนัด--ไทย--ลำปางth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--ลำปางth_TH
dc.titleพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากตลาดนัดเคลื่อนที่ในเขตอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeThe customer's behavior in buying decision of the mobility market in Maephrik Distric, Lampang Province / Customer's behavior in buying decision of the mobility market in Maephrik Distric, Lampang Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_127199.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons