Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7320
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มในการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด
Other Titles: The factors relating to tendency resignation of employees of Bangkok Commercial Asset Management Co., Ltd. / Factors relating to tendency resignation of employees of Bangkok Commercial Asset Management Co., Ltd.
Authors: สุขุมาลย์ ชำนิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรเดช ลิปิกรณ์, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด--พนักงาน
การลาออก
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มในการตัดสินใจลาออกของพนักงานจาก บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (2) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกของพนักงานจาก บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด วิธีการดำเนินการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด สำนักงานใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 828 คน ใช้หลักการคำนวณยามาเน่ ที่แสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่างในระดับความเชื่อมั่น 95 % มีความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 270 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด ปังจัยจูงใจภายในบุคคลและปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยปัจจัยงูงใจภายในพนักงานแสดงความคิดเห็นพึงพอใจในระดับมาก ส่วนปัจจัยค้ำจุนพนักงานแสดงความคิดเห็นในระดับปานกลาง ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดความไม่พึ่งพอใจในงานและอาจส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออก (2) ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกของพนักงานนั้น บริษัทควรทบทวนปัจจัยค้ำจุนในด้านต่างๆ เช่น ด้านการพัฒนาและฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทนและการบริหารการปฏิบัติงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยจูงใจภายในบุคคล เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน ป้องกันแนวโน้มการลาออกจากงานและธำรงค์ไว้ซึ่งพนักงานที่มีคุณภาพกับบริษัทฯต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7320
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_127300.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons