Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/732
Title: ความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ตามโครงการนำร่องของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (ราชบุรี)
Other Titles: Knowledge, attitude and participation in administrative process of the administration committees, Local Health Security Fund According to the Pilot Project of National Health Security Office Ratchaburi Branch
Authors: วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัชติกา แม้ประสาท, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น--การบริหาร
ประกันสุขภาพ
สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล--ไทย
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพึ่อ (1) ศึกษาความรู้ทัศนคติ เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (3) หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และ (4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จำนวน 205 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม 2 ขั้นตอนตามตำแหน่งและที่มาของการดำรงตำแหน่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าอำนาจจำแนกในด้านความรู้เป็นรายข้ออยู่ระหว่าง 0.2-0.X ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ด้านทัศนคติและการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบนเพียร’สน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ คราเมอร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น มีความรู้และ ทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในระดับปานกลาง และสูงตามลำดับ (2) คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในระดับปานกลาง (3) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ รายได้ เพศ และตำแหน่งในคณะกรรมการฯ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ความรู้และทัศนคติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 และ (4) ปัญหา อุปสรรค พบว่า งบประมาณได้รับโอนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความล่าช้า คณะกรรมการฯ ขาดความรู้ ความเข้าใจต่อแนวคิด วัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/732
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108829.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons