กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7340
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล อำเภอดอนเจดีย์และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors motivating the performance of personnel of administrative organization in Don Jaidee and Samchook Districts, Suphanburi Province / Factors motivating the performance of personnel of administrative organization in Don Jaidee and Samchook Districts, Suphanburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ใจทิพย์ ชินสุวรรณ, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล อำเภอดอนเจดีย์และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (2) เปรียบเทียบปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลอำเภอดอนเจดีย์และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล อำเภอดอนเจดีย์และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานส่วนตำบลของอำเภอดอนเจดีย์ และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของอำเภอดอนเจดีย์ และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งด้านปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยจูงใจภายในและปัจจัยจูงใจภายนอกในภาพรวมของทั้งสองอำเภอ ด้วยการทดสอบค่าที พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจภายในและปัจจัยจูงใจภายนอกในระดับมากทั้งสองอำเภอ โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจภายในที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้งสองอำเภอ คือ ด้านความรับผิดชอบ ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุดของอำเภอดอนเจดีย์คือด้านความท้าทายในงาน และอำเภอสามชุก คือ ด้านการยอมรับ ส่วนปัจจัยจงใจภายนอก ความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเหมือนกันทั้งสองอำเภอ คือ ด้านความมั่นคงในงาน และค่าเฉลี่ยต่ำสุดของอำเภอดอนเจดีย์ คือด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ส่วนอำเภอสามชุกมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปกครองบังคับบัญชา (3) การวิจัยครั้งนี้ พบว่ามีปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการจูงใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านความท้าทายในงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านนโยบายและการบริหาร และมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการปรับปรุงการบริหารจัดการ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้านนโยบายและการบริหาร ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7340
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128447.pdf3.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons