Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7342
Title: การออมและการวางแผนภาษีของข้าราชการสังกัดสำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 9 และสำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 10
Other Titles: The savings and tax planning of government officials in regional Audit Office no.9 and regional Audit Office no.10
Authors: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญใจ อินสมพันธ์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: การประหยัดและการออม--ไทย
การวางแผนภาษี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การออมและการวางแผนภาษีของข้าราชการสังกัด สำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 และภาค 10 (2) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับการออมของข้าราชการ สังกัดสำนักตรวจสอบพิเศษภาค9 และภาค 10 (3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับการวางแผนภาษี ของข้าราชการสังกัดสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 และภาค 10 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการสังกัดสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 และภาค 10 จำนวน 150 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ และการวิเคราะห์ไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้าราชการสังกัดสำนักตรวจสอบพิเศษภาค9และภาค 10ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง31-40ปี สถานภาพโสดมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสมาชิกที่ต้องดูแลจำนวน4 คน ขึ้นไป ตำแหน่งระดับชำนาญการ รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน 20,001 -50,000 บาท และรายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000บาท 2) ข้าราชการสำนักตรวจสอบพิเศษภาค9และภาค 10มีความสามารถในการออมไม่เกินร้อยละ 5 ของรายได้ โดยข้าราชการสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 มีการเลือกออมโดยทำประกันชีวิต แต่ข้าราชการสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 10 เลือกออมโดยฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 3) ในสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการออม ส่วนในสำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 10 พบว่าประเภทตำแหน่งและรายจ่ายมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการออม เพศมีความสัมพันธ์กับ ความสามารถในการออม และสถานภาพมีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการออม 4) ในสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 พบว่า ประเภทตำแหน่งและรายได้มีความสัมพันธ์กับฐานภาษี รวมถึงการศึกษา รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนและ รายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับสิทธิลดหย่อนภาษีในสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 10พบว่า อายุ สถานภาพ การศึกษา จำนวนสมาชิกที่อยู่ในความดูแล ประเภทตำแหน่ง รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนและรายจ่าย โดยเฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับฐานภาษี รวมถึงอายุกับประเภทตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับสิทธิในการลดหย่อนภาษี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7342
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_151350.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons