Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7359
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิเชียร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรพิน รัตนวรรณชัย, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-05T08:54:08Z-
dc.date.available2023-07-05T08:54:08Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7359-
dc.description.abstractธุรกิจร้านขายยาเป็นหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกที่ผู้ประกอบมุ่งหวังจะสร้างผลกำไรในระยะยาวสามารถอยู่รอดท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปิดโควต้าร้านขายยาแบบเสรี การเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย หนึ่งในปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการปรับปรุงเพื่อเข้าสู่มาตรฐานทางวิชาชีพ และยกระดับมาตรฐานด้านสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศให้ทัดเทียมประเทศอื่น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล และส่วนประสมทางการตลาด ต่อทัศนคติการเลือกใช้บริการร้านขายยาแผนปัจจุบันของผู้บริโภคในหมู่บ้านพงษ์ศิริชัย 4 และทัศนติของผู้บริโภคต่อร้านขายยาแผนปัจจุบันที่พึงต้องการในฐานะที่เป็นสถานบริการสาธารณสุข เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขจากภาครัฐต่อไปในอนาคต ประชากรคือ ครัวเรือนจำนวน 1,000 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา มีจำนวน 100 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 100 ครัวเรือนที่เลือกอย่างเป็นระบบจากทุกหน่วย 10 บ้านเลขที่ เป็นผู้ตอบแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าลิเคิร์ทที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ศึกษาด้วยตัวเองสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีสัดส่วนจำนวนเพศชายและเพศหญิงเท่ากัน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมสึกษาตอนปลาย ประกอบอาชีพลูกจ้างบริษัทเอกชน รายได้ต่อเตือน 7,001-15,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางกรตลาดทั้ง 4 โดยรวมผู้บริโภคมีทัศนคติต่อการเลือกใช้บริการในระดับเห็นด้วยมาก ทั้งนี้ให้ความสำคัญอันดับแรกต่อปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลต่อทัศนคติการเลือกใช้บริการ พบว่าความแตกต่างของเพศและรายได้ผู้บริโภคมีระดับทัศนคติที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ช่วงอายุ อาชีพ และระดับการศึกษาที่ต่างกันมีผลทำให้ผู้บริโภคมีระดับทัศนคติที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่มีช่วงอายุ 21-30 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวและภาคเอกชน ระดับการศึกษาประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จะมีระดับทัศนคติที่มากกว่า ทัศนคติของผู้บริโภคต่อร้านขายยาแผนปัจจุบันที่พึงต้องการในฐานะที่เป็นสถานบริการสาธารณสุขโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การนำ เทศโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยบริหารจัดการ การมีเภสัชกรเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในการให้บริการ การรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ตลอดจนการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานสาธารณสุขอื่น เหล่านี้นับเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจร้านขายยาแผนปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และอยู่รอดได้ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่สูงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectร้านขายยา--ไทยth_TH
dc.subjectร้านขายยา--ทัศนคติth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleทัศนคติการเลือกใช้บริการร้านขายยาแผนปัจจุบันของผู้บริโภคในหมู่บ้านพงษ์ศิริชัย 4th_TH
dc.title.alternativeThe consumer attitude ot select drugstore in Pongsirichai IV Village / Consumer attitude ot select drugstore in Pongsirichai IV Villageth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_82055.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons