Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7363
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน : กรณีศึกษาบริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด
Other Titles: Factors affecting work accident : a case study of Microchip Technology (Thailand) Company Limited
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
น้ำทิพย์ เจ็กภู่, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
อุบัติเหตุจากอาชีพ
อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน : กรณีศึกษา บริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของ ได้แก่ พฤติกรรมส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงาน และระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการของแผนกMICROPERIPHERAL OPERATION (MP) จำนวน 300 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทคสอบค่าเอฟ การทดสอบค่าแซท และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวส์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทั้งสามด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลางมากที่สุด คือ พฤติกรรมส่วนบุคคล รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และปัจจัยด้านระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวส์ ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา และการได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ยกเว้นประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7363
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_115764.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons