Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/736
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ชาติชาย อุทาน, 2503- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-18T07:07:56Z | - |
dc.date.available | 2022-08-18T07:07:56Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/736 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ (1) เปรียบเทียบความพร้อมด้านการบริหาร ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านการสนับสนุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุทัยธานีในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ (2) ประเมินความพร้อมด้านการบริหาร ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและด้านการสนับสนุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพของหัวหน้าสถานีอนามัยจังหวัดอุทัยธานีในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ (3) เปรียบเทียบความพร้อมโดยรวมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุทัยธานีในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ การเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดในกลุ่มนายก อบต. ประธานสภา อบต. ปลัด อบต. และหัวหน้าสถานีอนามัย และสุ่มตัวอย่างแบบง่ายในกลุ่มสมาชิกสภา อบต. รวมจำนวนทั้งสิ้น 443 คน โดยเป็นกลุ่มของเจ้าหน้าที่ อบต. รวม 394 คน และหัวหน้าสถานีอนามัย 49 คน ด้วยแบบสอบถามที่มีคําถามเกี่ยวข้องกับความพร้อมของ อบต. สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการศึกษาพบว่า ความพร้อมของ อบต. จังหวัดอุทัยธานีในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ อบต. ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านบุคลากร และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนด้านที่มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านงบประมาณ และด้านการสนับสนุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ ส่วนความพร้อมของ อบต. จังหวัดอุทัยธานีตามความคิดเห็นของหัวหน้าสถานีอนามัยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และความพร้อมในแต่ละด้านของ อบต. จังหวัดอุทัยธานีในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า ตามความคิดเห็นต่อความพร้อมในภาพรวนด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านการสนับสนุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพไม่แตกต่างกัน ยกเว้นความพร้อมด้านการบริหารและด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนายก อบต. มีความเห็นต่อความพร้อมด้านบริหารแตกต่างจากประธานสภา อบต. และสมาชิก อบต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปลัด อบต. มีความเห็นต่อความพร้อมด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนแตกต่างจากประธานสภา อบต. และสมาชิกสภา อบต. อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ ควรเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพผู้บริหารทุกระดับ เจ้าหน้าที่ของ อบต. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ภาคประชาชน เตรียมความ พร้อมด้านงบประมาณในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ และเตรียมความพร้อมด้านภารกิจที่จะถ่ายโอน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุทัยธานี | th_TH |
dc.subject | สาธารณสุข--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน. | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจปกครอง--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน | th_TH |
dc.title | ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุทัยธานี ในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | The readiness of Subdistrict Administrative Organizations for health decentralization in Uthai Thani province | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this cross-sectional descriptive study were: (I) to compare the readiness for health decentralization with regard to administration, human resources, budget, public participation, and support of Subdistrict Administrative Organizations (SAOs) and other agencies involved; (2) to assess the readiness for health decentralization with regard to administration, human resources, budget, public participation, and support of subdistrict health center chiefs; and (3) to compare the overall health decentralization readiness of SAOs in Uthai Thani province. Data were collected using the questionnaire from all SAO chief executives, all SAO council chairpersons, all SAO chief administrators, all subdistrict health center chiefs, and randomly selected SAO councilors, totally numbering 443 (394 from SAOs and 49 from health centers). Data analysis was conducted to determine frequency, percentage, mean, standard deviation, one way analysis of variance (ANOVA), and Least-Significant Different (LSD) The results showed that, according to SAO officials’ opinions, the overall readiness for health decentralization of SAOs in Uthai Thani province was at a very good level; the “good” readiness level was found in the aspects of administration, human resources, and public participation; whereas the “moderate” level of readiness was found for budget and general support from decentralization-related agencies. According to health center chiefs opinions, the readiness of SAOs in all aspects was at a moderate level. The readiness in each aspect of health decentralization was significantly different at 0.05 level. Their opinions about the readiness in terms of human resources, budget, and general support from health-related agencies were not different, except for readiness in administration and public participation which was significantly different at 0.05 level. The SAO chief executives opinions on administrative readiness were different from those of SAO council chairpersons and SAO councilors (p= 0.05), but the SAO chief administrators* opinions on public participation were significantly different from those of SAO council chairpersons and SAO councilors (p = 0.05). It is recommended that the personnel should be prepared for health decentralization, especially for SAO executives and officials at all levels, health officials and members of the public; and the budget and mission transfer for health decentralization readiness should also be prepared | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สุรเดช ประดิษฐบาทุกา | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
114276.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License