Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7371
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุกัญยา แก้วขาว, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-06T02:28:47Z-
dc.date.available2023-07-06T02:28:47Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7371-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริม การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี ประสิทธิผลของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ จำนวน 534 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 229 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่าง เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การปรับปรุง ประสิทธิภาพการทำงานได้รับการพัฒนาในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การพัฒนาด้านการส่งเสริมความรู้ ทักษะ นำวิธีการ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาศักยภาพเพื่อสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์ การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง ผลการ ปฏิบัติงานของภารกิจหลักด้านบุคลากร และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงลบ ได้แก่ ความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน ขนาดและความซับซ้อนขององค์การ โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ร้อยละ 55.70 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปคะแนนดิบ Y = 0.292 + 0.603 X5 + 0.298 X1 +0.146 X7 + 0.102 X3 -0.124 X2 - .0.216 X4 (3) แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคล การจัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่ง การจัดทำแผนความก้าวหน้า ในอาชีพ และการจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรมส่งเสริมการเกษตร -- การพัฒนาบุคลากรth_TH
dc.subjectการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.title.alternativeFactors influencing human resources development of the Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperativesth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study level of human resources development of Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives (2) to study factors influencing human resources development of Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives (3) to study the effective human resources development guidelines of the Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives. The population was 534 personnel working for the Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives. Samples were 229 personnel. Sampling method was Proportional Stratified Random Sampling. Research tool was a questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product-moment coefficient and multiple regression analysis with statistical significance level at 0.05. The results revealed that (1) an overall level on human resources development of Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives was at moderate level. Considered by each aspect, it was found that performance improvements was at the highest mean, followed by the providing of knowledge, skills and modern technology practical application and the potential development into a higher promotion. (2) positive influencing factors toward the effectiveness of human resources development of the Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives included of behavioral recognition, support of executives, performance in accordance with main function of personnel as well as technological advances. For negative influencing factors included of the intention and commitment to work, the size and organization complexity with the statistical significance level at .05 respectively. These factors could predict effectiveness of human resource development at 55.70 %. The regression equation or predicting equation was Y = 0.292 + 0.603 X5 + 0.298 X1 + 0.146 X7+ 0.102 X3 - 0.124 X2 - 0.216 X4 (3) guidelines for human resources development were the formulation of individual development plan, succession plan, career development plan and the adequate allocating budget for the personnel developmenten_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153222.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons