กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7371
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing human resources development of the Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัญยา แก้วขาว, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรมส่งเสริมการเกษตร -- การพัฒนาบุคลากร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริม การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี ประสิทธิผลของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ จำนวน 534 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 229 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่าง เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การปรับปรุง ประสิทธิภาพการทำงานได้รับการพัฒนาในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การพัฒนาด้านการส่งเสริมความรู้ ทักษะ นำวิธีการ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาศักยภาพเพื่อสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์ การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง ผลการ ปฏิบัติงานของภารกิจหลักด้านบุคลากร และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงลบ ได้แก่ ความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน ขนาดและความซับซ้อนขององค์การ โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายประสิทธิผลในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ร้อยละ 55.70 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปคะแนนดิบ Y = 0.292 + 0.603 X5 + 0.298 X1 +0.146 X7 + 0.102 X3 -0.124 X2 - .0.216 X4 (3) แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคล การจัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่ง การจัดทำแผนความก้าวหน้า ในอาชีพ และการจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7371
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153222.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons