Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7378
Title: | การมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) |
Other Titles: | Participation of farmers in development of groundwater for agriculture at Bureau of Groundwater Resources Region 2 (Suphanburi) |
Authors: | ชินรัตน์ สมสืบ จรูญ วรสิงห์, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสน่ห์ จุ้ยโต |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล เพื่อการเกษตรในสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป และเข้าร่วมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง รูปแบบที่ 1 ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี และรูปแบบที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี และ สุพรรณบุรี จำนวนทั้งสิ้น 956 คน ใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 285 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บาดาลเพื่อการเกษตร ในสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่นระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการร่วมรับรู้ ด้านการร่วมประเมินผล ด้านการร่วมทำ และด้านการร่วมคิด ส่วนด้านการร่วมรับผลประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง (2) เกษตรกรที่มี อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และ สถานภาพของกลุ่มสมาชิก แตกต่างกันมีส่วนร่วมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) มี 3 ประการ ดังนี้ 1) ควรจัดเสียงตามสาย แผ่น พับใบปลิว จัดอบรมให้ความรู้ เพื่อลดปัญหาความรุนแรงของแหล่งน้ำบาดาล 2) ควรจัดให้มีการประชุมให้เกษตรกรทุกพื้นที่มีความรู้และปฏิบัติได้อย่างถูกวิธีไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับแหล่งต้น น้ำบาดาล 3) ควรให้มีการเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7378 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
154693.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License