Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7385
Title: ความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Other Titles: Staff's opinions of Suranaree University of Technology on factors affecting being the learning organization of Suranaree University of Technology
Authors: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
อารยา บวรพานิชย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์
Keywords: การเรียนรู้องค์การ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามสถานภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ปฏิบัติงานระหว่างเดือนมกราคม - ตุลาคม 2552 จำนวน 1,010 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.935 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ การทดสอบค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ ผลวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก ได้แก่ 1) ด้านการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยี 2) ด้านพลวัต การเรียนรู้ 3) ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ 4) ด้านการจัดการความรู้ และ 5) ด้านการเอื้ออำนาจแก่บุคลากร (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามสถานภาพของบุคลากรดังนี้ 1) เพศ พบว่า เพศชาย และเพศหญิงมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยเพศชายมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศหญิง 2) อายุ พบว่า ด้านพลวัตการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 สำหรับด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ ด้านการเอื้ออำนาจแก่บุคลากร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) สถานภาพการสมรส พบว่า ด้านพลวัต การเรียนรู้ ด้านการเอื้ออำนาจแก่บุคลากร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4) ระดับการศึกษา พบว่า ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 5) อายุงาน พบว่า ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 6) ตำแหน่ง ไม่พบความแตกต่าง (3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการถ่ายทอดและเทคนิคการสอนงานให้แก่ผู้บังคับบัญชาเพิ่มขึ้น จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา และประกาศนโยบายให้มีการจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนความรู้
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7385
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118687.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons