Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/739
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภานุมาศ ขัดเงางาม | th_TH |
dc.contributor.author | สุชาโณ ขาวสำลี, 2506- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-18T07:20:36Z | - |
dc.date.available | 2022-08-18T07:20:36Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/739 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัย เรื่อง พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ศึกษาเฉพาะกรณี เกี่ยวกับการกระทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้ทราบทราบถึงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ที่มีความมุ่งหมายที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ต้องการให้นําหลักในเรื่องลูกหนี้ร่วมในกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่น โดยมุ่งหมายแต่เพียงจะให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนครบ โดยไม่คํานึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่่จนเป็นปัญหาในการบริหาร (2) วิเคราะห์ถึงปัญหา เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาปรับปรุงหลักเกณฑ์หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและเป็นธรรม การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของรัฐที่ปรากฏในประเทศไทยรวมทั้งศึกษาถึง หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของรัฐต่างประเทศเช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ และ ประเทศเยอรมัน ศึกษาหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเรื่องความรับผิดทางละเมิดของรัฐในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมมาปรับใช้กับความรับผิดของรัฐในประเทศไทยต่อไป ผลการศึกษาพบว่าปัญหาของมาตรฐานในการวินิจฉัยคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ตาม มาตรา 8 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นเครื่องชี้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่บุคคลใด จะเป็นผู้ชี้หรือวางมาตรฐานว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ปัจจุบัน ดุลพินิจในการพิจารณาว่าการกระทำใดของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่จะตกอยู่ที่หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดอยู่จึงเสนอแนะให้มีการเผยแพร่คําวินิจฉัยที่เป็นบรรทดฐานให้ หน่วยงานของรัฐเป็นแนวทางและเห็นสมควรให้ปรับปรุงคุณสมบัติของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด เนื่องจากระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มิได้กำหนดให้คณะกรรมการต้องประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในทางกฎหมายเป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย ควรมีการเพิ่มเติม ปรับปรุง ให้มีนิยามศัพท์คําว่า “จงใจ” และ “ประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง” ไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ฉบับปัจจุบัน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.234 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ละเมิด | th_TH |
dc.title | พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 ศึกษาเฉพาะกรณีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง | th_TH |
dc.title.alternative | Tortious liability of officials Act B.E. 2539 (1996) : the definition of "Intention or Gross Negligence" | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2012.234 | th_TH |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are (1) to find out the intendment of the Tortious Liability of Officials Act B.E. 2539 (1996) which protect the government officials from unintentional violation or lesser negligence while performing the duty and also prevent the government officials from being the joint obligor according to the civil law which aim to get only compensation without considering the fair treatment towards the government officials, and (2) the problems and suggestions to improve the liability in the Tortious Liability of Officials Act B.E. 2539 (1996) are also examined in this study. This research is a qualitative study conducted based on the documentary research. In this regard, it is to consider and compare the principle of liability in the law of tort existing in Thailand, France, the United Kingdom and Germany in order to improve and be implemented under the related Thai law. The research concluded as follows: one of the problems of the Tortious Liability of Officials Act B.E. 2539 (1996) was how to specify the standard and precise definition towards the statement “gross negligence” according to the Article 8 of the act. The clear definition would be the significant indicator to judge whether the officials must liable for the compensation. The other problem was who would be the person to make judgment or give the standard of practice which action or performance is a gross negligence. Today, the rights to make judgment has been conducted by the original affiliation of the alleged officer. Therefore, the researcher proposed that the standard judgment should be published and distributed to all government authorities widely as the guideline. This included improving the structure of the fact finding committee strictly because no legal expert was the members in the committee according to the liability in the Tortious Liability of Officials Act B.E. 2539 (1996). In addition, the researcher also proposed that the clear definition of “intention” and “gross negligence” should be identified in the Tortious Liability of Officials Act B.E.2539 (1996). | en_US |
dc.contributor.coadvisor | ภูมิ โชคเหมาะ | th_TH |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib135315.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 28.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License