Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7402
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ปี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวัณณิตา อุ่ยเจริญ, 2529- ผู้แต่ง.th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-06T07:21:34Z-
dc.date.available2023-07-06T07:21:34Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7402-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร ได้แก่ ครัวเรือนทั้งหมดของหมู่บ้านศรี ดอนชัย หมู่ที่ 5 ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 230 ครัวเรือน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของท่าโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 146 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม โดยผลการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .955 และใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และทดสอบนัยสำคัญ ทางสถิติโดยการวิเคราะห์ค่าที ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย โดยใช้กรอบการวิเคราะห์โมเดลการประเมินแบบซิปป์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการมีส่วนร่วม แรงจูงใจและผู้นำเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (3) ปัญหาและอุปสรรคได้แก่คนในชุมชนบางคนยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความรู้ในด้านต่าง ๆ ในการนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันชาวบ้านในชุมชนไม่ทราบหรือตระหนักว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งชาวบ้านควรปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง และอย่างต่อเนื่องคนในชุมชนต้องการวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทาง และต้องการการสนับสนุนช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ (4) ข้อเสนอแนะควรกระจายความรับผิดชอบให้ชัดเจนเมื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน โดยการแบ่งความรับผิดชอบและการบริหารจัดการไปสู่กลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการทำงาน ควรพัฒนาเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนจากการเกษตรขั้นต้น ไปสู่ระบบการเกษตรแบบผสมผสาน สำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนเพื่อแก้ปัญหางานซ้ำซ้อน และบูรณาการแผนชุมชนกิจกรรมและโครงการต่างๆ โดยความร่วมมือกันระหว่างชุมชน องค์กรต่างๆ และหน่วยงานของรัฐเพื่อสะดวกและประหยัดเวลาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง--ปรัชญาth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านศรีดอนชัย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeFactors relating to community development achievement based on the sufficiency economy philosophy of Sridonchai Village, Tonthongchai Sub-District, Muang District, Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to study (1) the community development achievement of sufficiency economy village model, (2) factors relating to the community development achievement of sufficiency economy village model, and (3) problems, obstacles and the suggestions guidelines for the community development achievement of sufficiency economy village model of Sridonchai Village, Tonthongchai Sub-district, Muang District, Lampang Province. This study was a survey research with mixed methods of quantitative and qualitative. Population consisted of 230 households of Sridonchai Village Moo 5, Tonthongchai Sub-district, Muang District, Lampang Province. Samples were calculated by Taro Yamane calculation formula and determined the sample size at 146 households. Research tool was a questionnaire with the reliability at .955 and an interview form for interviewing village leaders and government officials who were selected by purposive sampling. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and t-test. For qualitative analysis employed CIPP model. The results of this study showed that: (1) the percentage of community development achievement of sufficiency economy of Sridonchai Village, Tonthongchai Sub-district, Muang District, Lampang Province was higher than 80% (2) factors regarding the principles of Sufficiency Economy Philosophy, participation, motivation and village leader correlated with community development achievement according to Sufficiency Economy Principles of Sridonchai Village, Tonthongchai Sub- district, Muang District, Lampang Province. (3) problems and obstacles were some of the villagers lacked of knowledge and understanding of sufficiency economy philosophy as well as the applying knowledge to their daily lives. Villagers didn’t realize that sufficiency economy principle was necessary for their lives which they should follow strictly and continuously. The villagers needed trainers or experts in this particular fields and also the continual support from public sectors. (4) Suggestions were that there should decentralize the responsibilities clearly in implementation by dividing responsibilities and administration to the existing groups in community for the works drive. There should develop agricultural processing products in order to increase the value of goods, transform the primary agriculture into integrated farming system, survey problems occurred and need of villagers to solve the overlap works and integrate together with the village plans and activities with the cooperation between community, other organizations and public sectors in order to facilitate and save the timeen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltex_155966.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons