กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7405
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation in operational performance of personnel in Thasae Hospital, Chumphon Province / Motivation in operational performance of personnel in Thasae Hospital, Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
จงดี ลัทธลาภกุล, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลท่าแซะ--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร (2) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่ ข้าราชการและลูกจ้างทั้งหมด 150 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร เครื่องมือได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า (1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร มีแรงจูงใจในระดับมาก โดยแรงจูงใจจากปัจจัยภายในสูงกว่าแรงจูงใจจากปัจจัยภายนอก (2) ปัจจัยจูงใจจากภายในในการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร ที่มีเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ส่วนปัจจัยจูงใจภายนอกที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านความมั่นคง และความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดไค้แก่ ด้านรายได้ สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทน (3) ปัญหาที่พบได้แก่ปัญหาเกี่ยวกับสัมพันธภาพในการทำงาน การสื่อสารและการประสานงาน ข้อเสนอแนะได้แก่ ผู้บริหารควรกำหนดกฎเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน พิจารณาจัดสวัสดิการเพิ่มขึ้น มองผู้ใต้บังกับบัญชาในแง่ดี และใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการเสริมสร้างแรงจูงใจ ที่สำคัญได้แก่ การสร้างจุดมุ่งหมายในการทำงาน การให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน การให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน การสร้างระบบสื่อสารที่มีคุณภาพ การเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น รวมทั้งการแสดงคความสนใจห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7405
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_130410.pdf6.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons