Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7425
Title: การศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์การตลาดของบริษัทสินเชื่อรถยนต์
Other Titles: Marketing strategies comparative case study of car credit company
Authors: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญญชาติ แซ่อึ้ง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สินเชื่อ
การจัดการธุรกิจ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์การตลาดของบริษัทสินเชื่อรถยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดของบริษัท ฮอนด้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) (2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การตลาดของบริษัท ฮอนด้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท โตโยต้า สีสซิ่ง (ประเทศไทย) การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสังเคราะห์ โดยได้ทำการศึกษาจากบทความเกี่ยวกับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสมากมธุรกิจเช่าซื้อไทย ข้อมูลบนเว็บไซต์ รายงานประจำปีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การสัมภาษณ์พนักงานการตลาดรวมทั้งสอบถามจากพนักงานขายรถยนต์ผลการศึกษาพบว่า (1) การศึกยากลยุทธ์กรตลาด : ด้านผลิตภัณฑ์ ก็คือ รูปแบบของการเช่าซื้อรถยนต์ โดยทั้ง 2 บริษัทมีการเสนอรูปแบบของการเช่าซื้อให้กับลูกค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ด้านราคาก็คือ จะใช้กลยุทธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย และให้ลูกค้าวางเงินดาวน์จำนวนมาก กลยุทธ์นี้จะช่วยลดความเสี่ยงในด้านระยะเวลาการชำระหนี้ ด้านการจัดจำหน่าย เน้นสร้างความสัมพันธ์กับตัวแทนจำหน่ายเพื่อต้องการเจาะกลุ่มเข้าถึงลูกค้าโดยตรง ด้านการส่งเสริมการตลาดมีการสื่อสารถึงผู้บริโภคโดยใช้สื่อต่างๆ ด้านบุคลากรมีการฝึกอบรมความรู้ให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านลักษณะทางกายภาพพนักงานการตลาดจะให้บริการลูกค้า ณ ศูนย์ของตัวเทนจำหน่าย หรือในสถานที่ที่ลูกค้าสะดวก ด้านกระบวนการ มีการวางระบบการพิจารณาสินเชื่อที่รัดกุมและมีแนวทางปฏิบัติที่ได้มาตรฐาน (2) การเปรียบเทียบกลยุทธ์การตลาด : ด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกันบ้างในเรื่องของจำนวนสินเชื่อเช่าซื้อที่เสนอให้กับลูกค้า ด้านราคาคล้ายคลึงกันคือ มีการกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำให้กับลูกค้า ด้านการจัดจำหน่ายคล้ายกันคือ มีการร่วมมือทางธุรกิจกับตัวแทนจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดทั้ง 2 บริษัทจะเน้นในเรื่องของการทำโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้รับรู้ ด้านบุคลากรคล้ายกันคือ มีการฝึกอบรมความรู้ความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและสม่ำสมอ ด้านลักษณะทางกายภาพ จะให้บริการตามศูนย์ของตัวแทนจำหน่าย ด้านกระบวนการ มีวิธีการดำเนินการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่คล้ายคลึงกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7425
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_124681.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons