กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7447
ชื่อเรื่อง: การบริหารยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategic management of information technology of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลักษณา ศิริวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรินญา สุวรรณดี, 2525- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เทคโนโลยีสารสนเทศ--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (2) ศึกษาปัญหาการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2554-2558 (3) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบริหาร ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (4) เสนอแนวทางพัฒนาการ บริหารยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2 ) กลุ่มผู้รับผิดชอบการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2554-2558 รวมจำนวน 35 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมี 3 ขั้นตอนคือ การวางแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติ และการติดตาม และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ (2) ปัญหาการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2554-2558 พบว่าความไม่พอเพียงของงบประมาณเป็นปัญหามากที่สุด รองลงมาคือ ขาดการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้บริการ ขาดการถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติอย่างทั่วถึง ไม่มีการติดตามแผนอย่างสม่ำเสมอ ขาดการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร บุคลากร และหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศศส่งผลต่อการดำเนินงานของบุคลากร การไม่เห็นความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณ ขาดผู้รับผิดชอบติดตามแผน และหน้าที่ที่ชัดเจน ส่วนด้านที่เป็นปัญหาน้อยคือ ไม่มีการประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารบางส่วนไม่เข้าใจการปฏิบัติงานตามแผนการจัดทำโครงการไม่คำนึงถึงเป้าหมาย บุคลากรไม่นำแผนมาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน และขาดความเข้าใจร่วมกันของหน่วยงาน (3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบริหารยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหาร ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ การให้ความสำคัญต่อแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารความรู้ความสามารถและการมีภาวะผู้นำของผู้บริหาร และการสื่อสารกันภายในมหาวิทยาลัย (4) แนวทางพัฒนาการบริหารยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรให้หน่วยงานร่วมลงทุน งบประมาณทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศระดับมหาวิทยาลัย ควรปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานภายในให้สอดรับกับแผน และการจัดประชุม สัมมนาสร้างเครือข่ายเฉพาะด้านระหว่างหน่วยงาน ผู้บริหาร และบุคลากร และ หน่วยงานควรจัดทำแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของตนเอง และนำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการ ติดตามและประเมินผลถึงตัวชี้วัดและกลยุทธ์ของแผนอย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7447
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_156801.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons