Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7449
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ |
Other Titles: | Factors influencing the achievement of agricultural research implementation, Chai Nat 2 hybrid sweet corn variety of the department of agriculture |
Authors: | ดุสิต เวชกิจ เบญจวรรณ สุขนิยม, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ ข้าวโพดหวาน--วิจัย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวานลูกผสม พันธุ์ชัยนาท 2 ของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ (3) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ของกรมวชิาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษามีจำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่ปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 จำนวน 41 คน และ 2) เกษตรกรผู้ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด หวานลูกผสมของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 122 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากกลุ่มเกษตรผู้ซื้อเมล็ดพันธุ์ จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70 (2) ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติปัจจัยด้านการตลาดภาครัฐ ปัจจัยแรงจูงใจภายใน และปัจจัยแรงจูงใจภายนอก เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการนำงานวิจัยด้านการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) จุดแข็ง คือ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 มีฝักใหญ่ ให้ผลผลิตสูง ราคาของเมล็ดพันธุ์ถูกกว่าภาคเอกชน จุดอ่อน กรมวิชาการเกษตรขาดการประชาสัมพันธ์ เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร คุณภาพของพันธุ์สู้ของบริษัทไม่ได้ โอกาส เทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยเผยแพร่งานวิจัย นโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้งานวิจัย ของภาครัฐสู่การใช้ประโยชน์ อุปสรรค คือ ตลาดที่รับซื้อข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 มีน้อย (4) แนวทางในการสร้างผลสัมฤทธิ์ในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตรควรกำหนดนโยบายในการนำงานวิจัย ให้มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และเสริมสร้างความเข้าใจกับนโยบายให้กับบุคลากร ควรเพิ่ม ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ช่องทางการตลาดเพื่อรองรับงานวิจัย และควรมีกระบวนการสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมในการทำงาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7449 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
156525.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License